วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการเขียนคำตอบอัตนัย สำหรับมือใหม่ อาญา 1


ผู้เขียนขออภัยในข้อเขียนที่เสนอแนะนี้มิใช่ข้อสรุปประเด็นกฏหมายว่าถูกหรือผิด แต่ประสงค์นักเรียนกฏหมายมือใหม่ คุ้นเคยกับวิธีการทำข้อสอบอัตนัยของ มสธ.ได้เท่านั้น โดยผู้เขียนเรียบเรียงจากข้อแนะนำของอาจารย์หลายท่าน เรื่องการให้คะแนน เวลาตอบข้อสอบแบบอัตนัย เนื่องจาก มีผู้ตรวจข้อสอบหลายท่านเป็น อัยการ และ ผู้พิพากษา จึงส่งผลให้ สรุปวิธีการเขียนคำตอบดังนี้

เทคนิคการเขียนคำตอบอัตนัย  ๖ ข้อ

๑/ การอ้างหลักกฏหมายที่ต้องนำมาใส่เพื่อปรับข้อเท็จจริง ต้องพิจารณาว่าคุณสอบวิชาอะไร และนำหลักกฏหมายอะไรมาใช้ ตัวอย่างการอ้างหลักตาม ๔ เสากฏหมาย และเพื่อความรวดเร็ว ใช้ตัวอักษรย่อ ดังนี้
ประมวลกฏหมายอาญาวางหลักว่า                                   ==> ป.อ. วางหลักว่า
ประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์วางหลักว่า                   ==> ป.พ.พ. วางหลักว่า
ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาวางหลักว่า      ==ป.วิ.อ. วางหลักว่า
ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งวางหลักว่า          ==> ป.วิ.พ. วางหลักว่า
ผู้เรียนบางท่านใช้คำ "บัญญัติว่า" ก็ได้แต่หากเขียนตัวอักษรใน มาตราผิดแม้เพียงอักษรเดียวจะทำให้ไม่ได้คะแนน ในการอ้างหลักกฏหมายได้
การใช้ จุด ตัวย่อพึ่งกระทำตามระเบียบมาตราฐานภาษาไทย เช่นกัน

๒/ การเขียนปรับบทหรือการวินิจฉัย โดยจะต้องเขียนโดยใช้ภาษาเขียนทั้งหมด พร้อมยกมาตราที่นำมาวินิจฉัยแนบด้วย
๓/ การสรุปคำตอบ หรือ ธงคำตอบ
๔/ วิธีการเขียนในกระดาษคำตอบ ข้อสอบอัตนัย มสธ. มีเพียง ๓ ข้อ แต่ให้กระดาษคำตอบที่สามารถเขียนได้ประมาณ ๘ หน้าเนื่องจาก การเขียนคำตอบ ๑ ควรใช้กระดาษ ๑ ถึง ๒หน้าครึ่ง ไม่เกินนี้ เพื่ออาจารย์สะดวกในการอ่าน
๕/ ขั้นตอนการเขียนการคำตอบจะต้อง
     มีการเว้นย่อหน้า โดยจะต้องร่นจากเส้นชิดกรอบด้านขวาของสมุดคำตอบระยะ ๑ นิ้วครึ่งเสมอ ในเวลาสอบให้ใช้ไม้บรรทัดวัด
     ทุกครั้งที่ขึ้นประเด็นใหม่ให้เว้นบรรทัด ๑ บรรทัดเสมอ
     กรณีคำถามให้ตอบสองประเด็น ให้ตอบแยกประเด็นกันโดยตอบประเด็นแรกก่อน เมื่อจบประเด็นแรก ต้องเว้น ๑ บรรทัดแล้วจึงเขียนตอบประเด็นที่สอง
๖/ การเขียนข้อวินัจฉัยโดยนำหลักกฏหมายแทรกระหว่างบท จะทำให้คนเขียนไม่หลงประเด็นในการตอบคำถาม
ข้อแนะนำตามที่ผมได้ทำข้อสอบมา โดยบางครั้งให้ห้องสอบลืมเลขมาตราบ้าง เขียนมาตราไม่ครบบ้าง ท่านอาจารย์ท่านเมตตา ในเรื่องรูปแบบการเขียนที่อ่านได้ง่าย เนื่องจาก เหมือนกันกับ เอกสารที่ท่านใช้ประจำวันนั้นเองครับ

อนึ่งการทำการเฉลยนี้ตามความคิดของข้าพเจ้าแต่ผุ้เดียว ขอให้ผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการนำไปใช้

ตัวอย่างข้อสอบ อาญา๑ ปีการศึกษา ๒/๒๕๕๓

นายปอน ทำการเผาบ้านของนา และได้เกิด ลมพายุ พัดเปลวไฟ ไปติดบ้านนายโบทไหม้
ถามว่านายปอนจะอ้างว่าไม่เจตนาได้หรือไม่

ประมวลกฎหมายอาญาวางหลักว่า
มาตรา ๕๙ บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำ โดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมาย บัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณี ที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มี เจตนา
          กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและ ในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการ กระทำนั้น
          ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะ ถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ นั้นมิได้
          กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่ กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจัก ต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
         การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย

วินิจฉัย
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายปอน กระทำโดยเจตนาเผาบ้านของนา โดยเผาในระหว่างฤดูดังกล่าวมักมีลมพายุที่สามารถพัดเปลวไฟไปยังสถานที่ใกล้เคียงได้ นายปอนย่อมเล็งเห็นผลของการ กระทำการเผาจะมีเปลวไฟ ไปติดบ้านนายโบทไหม้ได้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยเจตนา เหตุการณ์ต้องด้วย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๕๙ วรรค ๒

สรุป
ดังนั้น นายปอน จะอ้างว่าไม่เจตนาเผาบ้านนายโบทไม่ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว
-------------------------------------------------------------------------------------------
ก. ถูกสุนัขบ้าไม่มีเจ้าของไล่กัด เห็นประตูบ้าน ข. เปิดอยู่ หนีเข้าไปหลบซ่อน ถามว่า ก. มีความผิดฐานบุกรุกบ้าน ข. หรือไม่

ประมวลกฎหมายอาญาวางหลักว่า
มาตรา ๖๗ ผู้ใดกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
 (๑) เพราะอยู่ในที่บังคับ หรือภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีก เลี่ยงหรือขัดขืนได้ หรือ
 (๒) เพราะเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตน มิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแต่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้อง รับโทษ

วินิจฉัย
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ก. ถูกสุนัขบ้าไม่มีเจ้าของไล่กัด ก.เห็นประตูบ้าน ข. เปิดอยู่ ถือได้ว่าการที่ ก. หนีเข้าไปหลบซ่อนพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันตรายนั้นตน จากสุนัขบ้าไม่มีเจ้าของไล่กัด เมื่อภยันตรายนั้น ก.มิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของ ก. ก.จึงสามารถอ้างว่าการหนีเข้าไปหลบซ่อนในบ้านของ ข. ที่เปิดไว้โดยมิได้รับอนุญาตินั้น การบุกรุกเข้าไปของ ก. เป็นการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแต่เหตุ เหตุการณ์ต้องด้วย ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๖๗ (๒)

สรุป
ดังนั้น ก. จึงไม่ต้องรับโทษทางอาญาในฐานบุกรุกเข้าบ้าน ข. ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว
-------------------------------------------------------------------------------------------
โอ่ง เป็นคนใช้บ้านอ่าง ทราบว่า อึ่งต้องการขโมยของบ้านอ่าง โอ่งจึงเปิดประตูบ้านทิ้งไว้ แต่อึ่งมาขโมยของบ้านอ่าง แต่เข้าทางหน้าต่าง โอ่งจะต้องรับผิดทางอาญาหรือไม่

ประมวลกฎหมายอาญาวางหลักว่า
มาตรา ๘๖  ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดแม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตามผู้นั้นเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด  ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น

วินิจฉัย
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า โอ่งเป็นคนใช้บ้านอ่าง โอ่งทราบว่าอึ่งต้องการขโมยของในบ้านอ่าง โอ่งเจตนากระทำการเปิดประตูบ้านทิ้งไว้เพื่อให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดแม้ผู้กระทำความผิดจะมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้นก็ตาม การที่อึ่งมาขโมยของบ้านอ่าง แต่เข้าทางหน้าต่าง มิได้เข้าทางประตูบ้านที่โอ่งเจตนาเปิดทิ้งไว้ ถือได้ว่าโอ่งมิได้ให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดเหตุการณ์ไม่ครบองค์ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๘๖

สรุป
ดังนั้น โอ่ง จึงไม่ต้องรับโทษทางอาญาในการเป็นผู้สนับสนุนอึ่งการกระทำความผิดโขมยของในบ้านอ่าง ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว

ขอบคุณ คุณ ronin99s รุ่นพี่ นิติศาสตร์  มสธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม