วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ทิปส์ในการพัฒนาสมอง


วนิษา เรซ หรือ หนูดี หญิงเก่งของไทย (อเมริกัน) จบปริญญาตรีเกียรตินิยมด้าน ครอบครัวศึกษา Family Studies มหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ คอลเลจพาร์ค สหรัฐอเมริกา 
ทิปส์ในการพัฒนาสมอง


ปริญญาโทเกียรตินิยมด้านวิทยาการทางสมอง (Neuroscience) ในโปรแกรม Mind, Brain and Education มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

ปัจจุบัน เป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านอัจฉริยภาพ (เพียงคนเดียวในไทย) และผู้ชนะล้านที่ 15 รายการ "อัจฉริยะข้ามคืน" ประธานกรรมการ บริษัท อัจฉริยะสร้างได้ จำกัด ผู้อำนวยการโรงเรียนวนิษา เป็นผู้นำเสนอแนวคิด - คนทั่วไปก็สร้างและฝึกฝนให้เป็นอัจฉริยะได้เช่นกัน เขียนหนังสือ "อัจฉริยะสร้างได้" 
1. จิบน้ำบ่อย ๆ สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยงถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยวถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้ากลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ
2. กินไขมันดี คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอนนมถั่วเหลืองวิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาทีเพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Thetaซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imageryสามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ (ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
4. ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตามเหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิดระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้นทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขหลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นกินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้นเพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ ไปเรื่อยๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเองเป็นการลดภาระของสมอง
8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่นขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดีขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆทำให้สมองคิดเชิงบวกพร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
9. ฝึกหายใจลึก ๆ สมองใช้ออกชิเจน 20-25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมองควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆอาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยายใหญ่สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

วนิษากล่าวว่า คนทั่วไปมักมองว่าคนที่เป็นอัจฉริยะมักจะหมกมุ่นอยู่กับตำรากองโต ใส่แว่นหนาเตอะและไม่ค่อยมีมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมักเกิดกับคนในวงแคบ เช่น คนที่เก่งด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์หรือดนตรี แต่ความจริงแล้ว อัจฉริยภาพมีมากกว่านั้น ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ผู้คิดค้นทฤษฎีพหุปัญญาซึ่งเสนอว่ามนุษย์มีอัจฉริยภาพอย่างน้อย 8 ด้าน เพียงแต่บางด้านอาจเด่นกว่าด้านอื่นและขึ้นอยู่กับการฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก

อัจฉริยภาพ 8 ด้านที่ว่า ได้แก่ อัจฉริยภาพด้านภาษาและการสื่อสาร อัจฉริยภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว อัจฉริยภาพด้านมิติสัมพันธ์ อัจฉริยภาพด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจในตนเอง อัจฉริยภาพด้านการเข้าใจผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ อัจฉริยภาพด้านธรรมชาติและอัจฉริยภาพด้านดนตรี

สมองของคนเรามีน้ำหนักเท่ากับร้อยละ 2 ของน้ำหนักร่างกายโดยสมองใช้ออกซิเจนร้อยละ 25 หรือ 1ใน 4 ของการใช้ออกซิเจนในร่างกายทั้งหมด สิ่งที่วนิษาพูดทำให้แปลกใจและลบความเชื่อหรือความรู้เก่าเกี่ยวกับสมองไปได้เลย เพราะอัจฉริยภาพของคนไม่ได้อยู่ที่เซลล์สมองไม่ได้อยู่ที่น้ำหนักสมองและไม่ได้อยู่ที่รอยหยักของสมอง แต่อยู่ที่เส้นใยสมองและไมยีลินหรือไขมันสมองมาห่อหุ้ม เนื่องจากเซลล์สมองตายไปทุกวัน แต่จะมีการสร้างเส้นใยสมองใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยการทำซ้ำๆ กัน

ดังนั้น อัจฉริยภาพสร้างได้โดยการทำซ้ำๆ กันนั่นเอง เช่น หากเล่นเปียโนไม่เป็น แต่ถ้าฝึกทุกวันเป็นเวลา 2 ปี ก็จะเป็นคนใหม่ที่เป็นอัจฉริยภาพด้านเปียโนได้ อย่างไรก็ตามคนที่มีเส้นใยสมองมากที่สุดไม่ได้เป็นคนที่ฉลาดที่สุด เพราะสมองมีเนื้อที่จำกัดในการเก็บเส้นใยสมองสมองจึงมีการ "รีดทิ้ง" เส้นใยสมองในส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในเวลานั้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าเด็กแรกเกิดมีเส้นใยสมองมากที่สุดเมื่อเทียบกับเด็กคนเดียวกันในอายุ 6 ขวบ และ 14ปีและยิ่งโตขึ้นเส้นใยสมองยิ่งน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะโง่กว่าเดิม นั่นเป็นเพราะว่าสมองมีการจัดเก็บและมีแบบแผนในการเก็บเส้นใยสมอง อัจฉริยภาพทั้ง 8 ด้าน วนิษาเขียนไว้อย่างน่าอ่านและเข้าใจง่าย ไม่ใช่หนังสือแบบวิทยาศาสตร์หรือแบบเรียนหนักๆ แต่คนทั่วไปอ่านสนุกพร้อมๆ กับได้เคล็ดลับต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม