วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550



อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550
ด้านนิติบัญญัติ
1. การเสนอร่างกฎหมาย
          1.1 การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา 139)
                    (1) คณะรัฐมนตรี
                    (2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่า ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
                    (3) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น
          1.2 การเสนอร่างพระราชบัญญัติ (มาตรา 142)
                    (1) คณะรัฐมนตรี
                    (2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
                    (3) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กรและกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ
                    (4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า10,000 คนเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา 163 (เฉพาะหมวด และหมวด 5)
2. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประชาชนเสนอ (มาตรา 163 วรรคสี่)
          2.1 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องให้ผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นชี้แจงหลักการของร่างพระราชบัญญัติ
          2.2 คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจะต้องประกอบด้วยผู้แทนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3จองจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด
3. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย (หมวด การเงิน การคลัง และงบประมาณ มาตรา 166 - 170)
4. การพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด
          กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญขงพระราชกำหนดอย่างเคร่งครัด (มาตรา 185)
5. การให้ความเห็นชอบในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
          ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจาก (มาตรา 291 (1))
          (1) คณะรัฐมนตรี
          (2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่า ใน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
          (3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่า ใน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
          (4) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
          ประการสำคัญ การพิจารณาในวาระที่สอง ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย
ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
1. การรับทราบคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี
          - คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาและชี้แจงการดำเนินการตามแนวโนบายพื้นฐานแห่งรัฐ
          - การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการแต่ละปี(มาตรา 176)
2. การตั้งกระทู้ถาม
          ให้เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่จะต้องเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาเพื่อชี้แจงหรือตอบกระทู้ถามในเรื่องนั้นด้วยตนเอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็น (มาตรา 162 วรรคหนึ่ง)
3. การเปิดอภิปรายทั่วไป
          3.1 การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติ
                    (1) การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภากรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน (มาตรา 179)
                    (2) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า ใน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญ (มาตรา 161 วรรคหนึ่ง)
          3.2 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
                    (1) การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
                          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายนายกรัฐมนตีร โดยใช้เสียง1/5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 158 วรรคหนึ่ง)
                    (2) การเสนอญัตติของเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
                          สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถเปิดอภิปรายรัฐมนตรี โดยใช้เสียง 1/6 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 159 วรรคหนึ่ง)
                    นอกจากนี้ เมื่อบริหารราชการแผ่นดินครบ ปี ในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนเสียงไม่ถึงเกณฑ์ก็สามารถเปิดอภิปรายได้โดยง่าย (มาตรา 160)

4. การตั้งคณะกรรมาธิการ
          4.1 ประเภทของคณะกรรมาธิการ
                    (1) คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา
                    (2) คณะกรรมาธิการวิสามัญ
                    (3) คณะกรรมาธิการร่วมกัน
                    (4) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
                    (5) คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภา
                    (6) คณะกรรมาธิการตามมาตรา 121 ของรัฐธรรมนูญ
          4.2 อำนาจของคณะกรรมาธิการในการออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ (มาตรา 135 วรรคสอง)
การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ
          1. การให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา 19)
          2. การรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ (มาตรา 23)
          3. การให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม (มาตรา 189)
          4. การให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญา (มาตรา 190)
                    4.1 กำหนดขอบเขตของหนังสือสัญญาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางหรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และรัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว (มาตรา 190 วรรคสอง)
                    4.2 ก่อนดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญา คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น และให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอควมเห็นชอบด้วย (มาตรา 190 วรรคสาม)
                    4.3 ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา มาตรา190 วรรคห้า)
                    4.4 ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าหนังสือสัญญาใดจะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่ (มาตรา 190 วรรคหก)
การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
1. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาจถูกถอดถอนได้
              ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด
              1) มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ
              2) ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
              3) ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
              4) สอ่ว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
              5) ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
              6) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
              วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ (มาตรา 270 วรรคหนึ่ง)
2. ผู้มีสิทธิเสนอเรื่อง
              1) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวนไม่น้อยกว่า ใน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 271 วรรคหนึ่ง)
              2) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า ใน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภาถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งได้ (มาตรา 271 วรรคสอง)
              3) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน (มาตรา 164)
การให้ความเห็นชอบและการพิจารณาเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
1. อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในการให้ความเห็นชอบและการพิจารณาเลือกบุคคล
         1.1 อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบบุคคล
                  (1) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 206 (2))
                  (2) กรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 231 (4) และ (5))
                  (3) ผู้ตรวจการแผ่นดิน (มาตรา 243)
                  (4) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 246 วรรคสาม)
                  (5) กรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 252 วรรคสาม)
                  (6) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มาตรา 256 วรรคห้า)
                  (7) เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มาตรา 251วรรคสอง)
                  (8) อัยการสูงสุด (มาตรา 255 วรรคสาม)
         1.2 อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเลือกบุคคล
                  (1) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน คน (มาตรา 221 (3))
                  (2) กรรมการตุลาการศาลปกครองผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน คน (มาตรา 226 (3))
2. การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมบุคคของวุฒิสภา (มาตรา 121)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม