วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

พระราชบัญญัติ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543


พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นพระราชบัญญัติ ที่กำหนด หน้าที่ของศาล ผู้ทำหน้าที่ในศาล

หมวด 1 บททั่วไป 
 มาตรา 1 ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญนี้มีสามชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติ ไว้เป็นอย่างอื่น
 
         มาตรา 2 ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น 
 
         มาตรา 3 ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 
 
         มาตรา 4 ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้น อาจแบ่ง ส่วนราชการเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และจะให้ มีอำนาจในคดีประเภทใดหรือคดีในท้องที่ใด ซึ่งอยู่ในอำนาจของ แต่ละศาลนั้นแยกต่างหากโดยเฉพาะก็ได้ โดยออกเป็นประกาศ คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
 ประกาศคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมตามวรรคหนึ่ง เมื่อ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ 
 
         มาตรา 5 ให้ประธานศาลฎีกามีหน้าที่วางระเบียบราชการฝ่าย ตุลาการของศาลยุติธรรม เพื่อให้กิจการของศาลยุติธรรมดำเนินไป โดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน และให้ประธานศาลฎีกามี อำนาจดูแลให้ผู้พิพากษาปฏิบัติตามระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนด ขึ้นโดยกฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง 
 
         มาตรา 6 ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมโดยความเห็น ชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีอำนาจเสนอความเห็น เกี่ยวกับการจัดตั้ง การยุบเลิก หรือการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจ ศาลของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงจำนวน สภาพ สถานที่ตั้งและเขตอำนาจศาลตามที่ จำเป็นเพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปโดย เรียบร้อยตลอดราชอาณาจักร 
 
         มาตรา 7 ให้คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมกำหนดจำนวน ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมให้เหมาะสมตามความจำเป็นแห่งราชการ
 
         มาตรา 8 ให้มีประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกาหนึ่งคน ประธาน ศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์หนึ่งคน ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ประจำศาลอุทธรณ์ภาค ศาลละหนึ่งคน และให้มีอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรม อื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละ หนึ่งคน กับให้มีรองประธานศาลฎีกาประจำศาลฎีกา รองประธาน ศาลอุทธรณ์ประจำศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาคประจำ ศาลอุทธรณ์ภาค และรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น กำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น ศาลละหนึ่งคน และในกรณีที่มีความ จำเป็นเพื่อประโยชน์ในทางราชการ คณะกรรมการบริหารศาล ยุติธรรม โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา จะกำหนดให้มี รองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมากกว่า หนึ่งคนแต่ไม่เกินสามคนก็ได้
 เมื่อตำแหน่งประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นว่างลง หรือเมื่อ ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองประธาน ศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่กรณี เป็นผู้ทำการแทน ถ้ามีรองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หลายคน ให้รองประธานศาลฎีกา หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาล ชั้นต้นที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้ที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็นผู้ทำการแทน
 ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนประธานศาลฎีกา ประธานศาล อุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ตามวรรคสอง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับเป็น ผู้ทำการแทน
 ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสาม ประธานศาลฎีกา จะสั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
 ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทน ในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้ 
 
         มาตรา 9 ในศาลจังหวัดหรือศาลแขวง ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล ศาลละหนึ่งคน เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดหรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาลแขวงว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นเป็นผู้ ทำการแทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลนั้นไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้นเป็นผู้ทำการแทน
 ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฏีกาจะ สั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้ ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการแทน ในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้ 
 
         มาตรา 10 ในกรณีที่มีการแบ่งส่วนราชการในศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ หรือศาลชั้นต้นออกเป็นแผนกหรือหน่วยงานที่เรียก ชื่ออย่างอื่น ให้มีผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกหรือผู้พิพากษาหัวหน้า หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น แผนกหรือหน่วยงานละหนึ่งคน
 เมื่อตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกหรือผู้พิพากษาหัวหน้า หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามวรรคหนึ่งว่างลง หรือเมื่อผู้ดำรง ตำแหน่งดังกล่าวไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโส สูงสุดในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นเป็นผู้ทำการ แทน ถ้าผู้ที่มีอาวุโสในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้น ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ผู้พิพากษาที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับ ในแผนกหรือในหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นเป็นผู้ทำการแทน
 ในกรณีที่ไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคสอง ประธานศาลฎีกาจะ สั่งให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้
 ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะทำการแทนใน ตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้ 
 
         มาตรา 11 ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล ต้องรับผิดชอบในราชการของศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย และ ให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
 (1) นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ของรัฐหรือเป็นที่สนใจของประชาชน คดีที่เป็นความผิดอาญา ร้ายแรง คดีที่มีทุนทรัพย์สูง และคดีละเมิดอำนาจศาล ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาล ยุติธรรม
 (2) สั่งคำร้องคำขอต่างๆ ที่ยื่นต่อตนตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ
 (3) ระมัดระวังการใช้ระเบียบวิธีการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นโดย กฎหมายหรือโดยประการอื่นให้เป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อให้การ พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จเด็ดขาดไปโดยเร็ว
 (4) ให้คำแนะนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อขัดข้องเนื่องใน การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา
 (5) ร่วมมือกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในบรรดากิจการ อันเกี่ยวกับการจัดวางระเบียบและการดำเนินงานส่วนธุการของศาล
 (6) ทำรายงานการคดีและกิจการของศาลส่งตามระเบียบ
 (7) มีอำนาจหน้าที่อื่นตามกฎหมายกำหนด
 ให้รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น มีอำนาจตาม (2) ด้วย และให้มีหน้าที่ช่วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น แล้วแต่ กรณี ตามที่ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาล อุทธรณ์ภาค หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมอบหมาย 
 
         มาตรา 12 ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกหรือผู้พิพากษาหัวหน้า หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ต้องรับ ผิดชอบงานของแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้เป็นไป โดยเรียบร้อยตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรมที่ได้จัดตั้งแผนกหรือหน่วยงานที่เรียกชืออย่างอื่นนั้น และต้องปฏิบัติตามคำสั่งของประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้ พิพากษาหัวหน้าศาลนั้น 
 
         มาตรา 13 ให้มีอธิบดีผู้พิพากษาภาค ภาคละหนึ่งคน จำนวน เก้าภาค มีสถานที่ตั้ง และเขตอำนาจตามที่คณะกรรมการบริหาร ศาลยุติธรรมกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 เมื่อตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาภาคว่างลงหรือเมื่ออธิบดีผู้ พิพากษาภาคไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ประธานศาลฎีกาสั่งให้ ผู้พิพากษาคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทน
 ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลจะเป็นผู้ทำการ แทนในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งไม่ได้ 
 
         มาตรา 14 ให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคเป็นผู้พิพากษาในศาลที่อยู่ ในเขตอำนาจด้วยผู้หนึ่ง โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ ใน มาตรา 11 วรรคหนึ่ง และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย
 (1) สั่งให้หัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมรายงานเกี่ยวกับ คดี หรือรายงานกิจการอื่นของศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตน
 (2) ในกรณีจำเป็นจะสั่งให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในศาลที่อยู่ ในเขตอำนาจของตนไปช่วยทำงานชั่วคราวมีกำหนดไม่เกินสามเดือน ในอีกศาลหนึ่งโดยความยินยอมของผู้พิพากษานั้นก็ได้ แล้วรายงาน ไปยังประธานศาลฎีกาทันที




หมวด 2 เขตอำนาจศาล 
 
         มาตรา 15 ห้ามมิให้ศาลยุติธรรมศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาล ยุติธรรมอื่นได้สั่งรับประทับฟ้องโดยชอบแล้วไว้พิจารณาพิพากษา 
เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธี พิจารณาความหรือตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
 
         มาตรา 16 ศาลชั้นต้นมีเขตตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น กำหนดไว้ ศาลแพ่งและศาลอาญา มีเขตตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร นอกจากท้องที่ที่อยู่ในเขตของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี 
 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัดมีนบุรี และศาล ยุติธรรมอื่นตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้
 ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งหรือศาลอาญา และคดีนั้น เกิดขึ้นนอกเขตของศาลแพ่งหรือศาลอาญา ศาลแพ่งหรือศาลอาญา แล้วแต่กรณี อาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง โอนคดีไปยังศาลยุติธรรมอื่นที่มีเขตอำนาจ
 ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้น ในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัด นั้นมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ 
 
         มาตรา 17 ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจ ทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใดๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตาม ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 24 และ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง 
 
         มาตรา 18 ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและ คดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
 
         มาตรา 19 ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ใน อำนาจของศาลยุติธรรมอื่น
 ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลอาญาธนบุรีมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาล ยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณี 
 
         มาตรา 20 ศาลยุติธรรมอื่นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม ที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นหรือกฎหมายอื่นกำหนดไว้ 
 
         มาตรา 21 ศาลอุทธรณ์มีเขตตลอดท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาล อุทธรณ์ภาค
 ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ และคดีนั้นอยู่นอก เขตของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์อาจใช้ดุลพินิจยอมรับไว้พิจารณา พิพากษาหรือมีคำสั่งโอนคดีนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาคที่มีเขตอำนาจ 
 
         มาตรา 22 ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจพิจารณา พิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ และว่าด้วยเขต อำนาจศาล และมีอำนาจดังต่อไปนี้
 (1) พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาล ชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ในเมื่อ คดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคตามที่บัญญัติ ไว้ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
 (2) วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาล อุทธรณ์ภาคตามกฎหมาย
 (3) วินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมี อำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น 
 
         มาตรา 23 ศาลฎีกามีอนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่ อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อ ศาลฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องขอที่ยื่นต่อศาลฎีกา ตามกฎหมาย
 คดีที่ศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้ว คู่ความไม่มี สิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไป 


หมวด 3 องค์คณะผู้พิพากษา 
 
         มาตรา 24 ให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้
 (1) ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจาก หรือไปยังจังหวัดอื่น
 (2) ออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท แห่งคดี
 
         มาตรา 25 ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมี อำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
 (1) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลใน คดีทั้งปวง
 (2) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
 (3) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
 (4) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือ จำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
 (5) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษ อย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใด อย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้
 ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (3) (4) หรือ (5) 
 
         มาตรา 26 ภายใต้บังคับตาม มาตรา 25 ในการพิจารณา พิพากษาคดีของศาลชั้นต้น นอกจากศาลแขวงและศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ต้องมีผู้ พิพากษาอย่างน้อยสองคนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาล เกินหนึ่งคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง หรือคดีอาญาทั้งปวง 
 
         มาตรา 27 ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาคหรือศาลฎีกา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสามคน จึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค และผู้ พิพากษาศาลฎีกา ที่เข้าประชุมใหญ่ในศาลนั้นหรือในแผนกคดีของ ศาลดังกล่าว เมื่อได้ตรวจสำนวนคดีที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุม แผนกคดีแล้วมีอำนาจพิพากษาหรือทำคำสั่งคดีนั้นได้ และเฉพาะ ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย 
 
         มาตรา 28 ในระหว่างการพิจารณาคดีใด หากมีเหตุสุดวิสัย หรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่างได้ ทำให้ผูพิพากษาซึ่งเป็น องค์คณะในการพิจารณาคดีนั้น ไม่อาจจะนั่งพิจารณาคดีต่อไป ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้นั่งพิจารณาคดีนั้นแทนต่อไปได้
 (1) ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกา หรือรองประธาน ศาลฎีกา หรือผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งประธานศาลฎีกามอบหมาย
 (2) ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค ได้แก่ ประธาน ศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค หรือผู้พิพากษาในศาลอุทธรณ์หรือ ศาลอุทธรณ์ภาคซึ่งประธานศาลอุทธรณ์หรือประธานศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี มอบหมาย
 (3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดี ผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล หรือรองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นของศาลนั้นซึ่งอธิบดีผู้ พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค หรือผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล แล้วแต่กรณี มอบหมาย
 ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่างๆ ตาม มาตรา 8 มาตรา 9 และ มาตรา 13 มีอำนาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย 
 
         มาตรา 29 ในระหว่างการทำคำพิพากษาคดีใด หากมีเหตุ สุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทำให้ผู้พิพากษาซึ่ง เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีนั้นไม่อาจจะทำคำพิพากษาในคดี นั้นต่อไปได้ ให้ผู้พิพากษาดังต่อไปนี้มีอำนาจลงลายมือชื่อทำคำ พิพากษา และเฉพาะในศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค และศาลชั้นต้น มีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ด้วย ทั้งนี้ หลังจากได้ตรวจสำนวน คดีนั้นแล้ว
 (1) ในศาลฎีกา ได้แก่ ประธานศาลฎีกาหรือรองประธาน ศาลฎีกา
 (2) ในศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรนณ์ภาค ได้แก่ ประธาน ศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองประธานศาลอุทธรณ์ หรือรองประธานศาลอุทธรณ์ภาค แล้วแต่กรณี
 (3) ในศาลชั้นต้น ได้แก่ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดี ผู้พิพากษาภาค รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษา หัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี
 ให้ผู้ทำการแทนในตำแหน่งต่างๆ ตาม มาตรา 8 มาตรา 9 และ มาตรา 13 มีอำนาจตาม (1) (2) และ (3) ด้วย 
 
         มาตรา 30 เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม มาตรา 28 และ มาตรา 29 หมายถึงกรณีที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะนั่ง พิจารณาคดีนั้นพ้นจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่หรือถูกคัดค้านและถอนตัว ไปหรือไม่อาจปฏิบัติราชการจนไม่สามารถนั่งพิจารณาหรือทำคำ พิพากษาในคดีนั้นได้ 
 
         มาตรา 31 เหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตาม มาตรา 28 และ มาตรา 29 นอกจากที่กำหนดไว้ใน มาตรา 30 แล้ว ให้หมาย ความรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ด้วย
 (1) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาแล้ว เห็นว่าควรพิพากษายกฟ้อง แต่คดีนั้นมีอัตราโทษตามที่กฎหมาย กำหนดเกินกว่าอัตราโทษตาม มาตรา 25 (5)
 (2) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีอาญาตาม มาตรา 25 (5) แล้วเห็นว่าควรพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่าหกเดือน หรือ ปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างเกินอัตราดังกล่าว
 (3) กรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งคดีแพ่งเรื่องใดของศาลนั้น จะต้องกระทำโดยองค์คณะ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาในองค์คณะนั้นมีความเห็นแย้งกันจนหาเสียงข้างมาก มิได้
 (4) กรณีที่ผู้พิพากษาคนเดียวพิจารณาคดีแพ่งตาม มาตรา 25 (4) ไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่าราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงิน ที่ฟ้องเกินกว่าอำนาจพิจารณาพิพากษาของผู้พิพากษาคนเดียว 


 
:: หมวด 4 การจ่าย การโอน และการเรียกคืนสำนวนคดี 
 
         มาตรา 32 ให้ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาหัวหน้า ศาล หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแผนกคดีในแต่ละศาลแล้วแต่กรณี รับผิดชอบในการจ่ายสำนวนคดีให้แก่กองคณะผู้พิพากษาในศาล หรือในแผนกคดีนั้น โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดโดยระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรม
 การออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลยุติธรรมตาม วรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงความเชี่ยวชาญและความเหมาะสมของ องค์คณะผู้พิพากษาที่จะรับผิดชอบสำนวนคดีนั้น รวมทั้งปริมาณ คดีที่องค์คณะผู้พิพากษาแต่ละองค์คณะต้องรับผิดชอบ
 
         มาตรา 33 การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีซึ่ง อยู่ในความรับผิดชอบขององค์คณะผู้พิพากษาใด ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จะกระทำได้ต่อเมื่อเป็น กรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือ พิพากษาอรรถคดีของศาลนั้น และรองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลแขวง แล้วแต่กรณี ที่มิได้เป็น องค์คณะในสำนวนคดีดังกล่าวได้เสนอความเห็นให้กระทำได้ ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลจังหวัด หรือผู้พิพากษาที่มี อาวุโสสูงสุดในศาลแขวง แล้วแต่กรณี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือ ได้เข้าเป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้รอง ประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษา ที่มีอาวุโสถัดลงมาตามลำดับในศาลนั้น เป็นผู้มีอำนาจในการเสนอ ความเห็นแทน ในกรณีที่รองประธานศาลฎีกา รองอธิบดีผู้พิพากษา ศาลชั้นต้น มีหนึ่งคนและในกรณีที่รองประธานศาลอุทธรณ์ รองประธานศาลอุทธรณ์ภาค ไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือได้เข้า เป็นองค์คณะในสำนวนคดีที่เรียกคืนหรือโอนนั้น ให้ผู้พิพากษาที่มี อาวุโสสูงสุดของศาลนั้นเป็นผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็น
 ผู้พิพากษาอาวุโสหรือผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจในการ เสนอความเห็นตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง
 ในกรณีที่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนหรือองค์คณะผู้พิพากษา คดีค้างการพิจารณาอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งจะทำให้การพิจารณา พิพากษาคดีของศาลนั้นล่าช้า และผู้พิพากษาของสำนวนหรือองค์ คณะผู้พิพากษานั้นขอคืนสำนวนคดีที่ตนรับผิดชอบอยู่ ให้ประธาน ศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล แล้วแต่กรณี มีอำนาจรับคืนสำนวนคดีดังกล่าว และโอนให้ผู้พิพากษาหรือองค์ คณะผู้พิพากษาอื่นในศาลนั้นรับผิดชอบแทนได้ 
 *หมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ มาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติ ให้การนั่งพิจารณาคดีของศาลต้องมีผู้พิพากษาครบองค์คณะและ ผู้พิพากษาซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาคดีนั้นมิได้ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติประกอบกับ มาตรา 249 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้การจ่ายสำนวนคดีให้ผู้พิพากษา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ และได้ห้ามการเรียก คืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดี เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบ กระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี นอกจากนี้ ได้มีการตรากฎหมายตาม มาตรา 275 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการที่ เป็นอิสระ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้การจัดระบบ การบริหารงานศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมสอดคล้อง กับกฎหมายซึ่งตราขึ้นตาม มาตรา 275 ดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้ 
 
*หมายเหตุ รก,เล่ม 117 ตอนที่ 44 ก 18 พฤษภาคม 2543

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม