วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

นิติบัญญัติ


ฝ่ายนิติบัญญัติ

        ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ตัวแทนของประชาชนที่ไปทำหน้าที่ออกกฎหมาย พิจารณางบประมาณของแผ่นดิน เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของแผ่นดินและประเทศชาติ
        - ตัวแทนของประชาชนที่เลือกฝ่ายบริหาร, ควบคุมดูแลและถอดถอนฝ่ายบริหารให้ทำตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา
        - ตัวแทนของประชาชนที่มารับฟังและสะท้อนความคิดเห็น, ปัญญาความเดือดร้อนของประชาชนแล้วนำมาอภิปราย เพื่อหาข้อสรุปการแก้ปัญหา แล้วออกกฎหมายหรือเสนอต่อรัฐบาลให้ไปดำเนินการ
        - ต้องรับรู้และเข้าใจสภาพสังคมและปัญหาของประชาชนเพื่อสามารถสะท้อนความเห็นที่แท้จริงของประชาชนได้
        - ต้องมาจากตัวแทนที่หลากหลายของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เสียเปรียบในสังคม เช่น ชาวนา คนชนบท กรรมกร คนจนเมือง เจ้าหน้าที่ และข้าราชการชั้นผู้น้อยฯ
        - ต้องใกล้ชิดและลงสู่ประชาชนเพื่อรับฟังความคิดเห็น, ความเดือนร้อนและแนวทางการแก้ปัญหา ขณะเดียวกันจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
        - ควรกำหนดให้มีตัวแทนของเกษตรกรเข้าไป มีส่วนร่วมในคณะกรรมการ หรือ คณะกรรมาธิการสามัญในการแก้ปัญหาของเกษตรกร
        - ควรจะมีองค์กรนิติบัญญัติที่สาม นอกจากสภาผู้แทน, วุฒิสภา คือ ให้เป็นสภาของประชาชน หรือสภาของกลุ่มอาชีพต่างๆ สภาเกษตรกรแห่งประเทศไทยเพราะจะได้เป็นที่รวมของตัวแทนที่หลากหลายของประชาชนอย่างแท้จริง
        - การกำหนดคุณสมบัติ ต้องไม่เอาข้อจำกัดที่ลิดรอนสิทธิของประชาชนมากำหนด เช่น วุฒิปริญญาตรี แต่ต้องกำหนดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนคนดี มีคุณภาพ คุณธรรม และลดหรือปิดช่อง คนมีประวัติคดโกง และไร้ศีลธรรม ฝ่ายบริหาร คือ
        - ตัวแทนของประชาชนที่ได้รับการเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อเข้าไปบริหารประเทศ และแก้ไขปัญหาของประชาชน
        - ตัวแทนของประชาชนที่ไปดูแลกำกับควบคุมดูแลและบริหารจัดการ ให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ อย่างมีประสิทธิภาพได้ประสิทธิผล และมีธรรมาภิบาล คือ โปร่งใส, ตรวจสอบได้, มีความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของประชาชน
        - ต้องมาจากตัวแทนที่หลากหลายของประชาชน โดยควรจะมีตัวแทนของคนส่วนใหญ่ ที่เสียเปรียบในสังคม เช่น เกษตรกร คนชนบท กรรมการ คนจนเมือง เข้าร่วมในคณะบริหารด้วย
        - ต้องมีการกระจายงาน, อำนาจ, งบประมาณ, กฎหมาย, บุคลากร ลงไปสู่ท้องถิ่นและองค์กรเครือข่ายของประชาชน (องค์กรเกษตรกร), NGOs ประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม
        - การแก้ปัญหาของเกษตรกร ควรกำหนดให้มีตัวแทนของเกษตรกร เข้าไปมีส่วนร่วมในคณะกรรมการ หรือคณะทำงานด้วยและควรจะให้ตัวแทนของเกษตรกรมีบทบาทจริง
        - นายกรัฐมนตรีควรจะมีวาระอยู่ได้ไม่เกิน 2 สมัย หรือ 8 ปีเพื่อมิให้เกิดการผูกขาดอำนาจและจะได้มีการผลัด เปลี่ยนให้ผู้อื่นมีความรู้ความสามารถเข้ามาทำหน้าที่ได้ IV คณะกรรมการเลือกตั้ง
        - ที่มาของคณะกรรมการเลือกตั้งต้องให้ได้มาซึ่งบุคคลที่มีอิสระเป็นกลาง, ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการเลือกตั้ง ให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมได้อย่างแท้จริง ต้องมีมาตรการการลงโทษอย่างเด็ดขาดต่อการทุจริตและโกงการเลือกตั้ง โดย เฉพาะต่อผู้สมัครและพรรคการเมือง
        - ต้องทำหน้าที่ในการรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของประชาธิปไตย, รัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งที่ถูกต้องและบริสุทธิ์ ยุติธรรมแก่ประชาชน, องค์กรประชาชนและพรรคการเมือง
        - ต้องให้ภาคประชาชน เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง โดยมีการสนับสนุนทางด้านกฎหมาย, งบประมาณ, บุคลากร, เครื่องมือ ฯลฯ
        องค์ประกอบ ของฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่
        1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวแทนในการทำงาน ตามความต้องการของ ประชาชน
        2. วุฒิสมาชิก เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถจากสาขาอาชีพต่างๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์
        3. ประธานสภาผู้แทนราษฎร
        4. ประธานวุฒิสภา
        อำนาจหน้าที่ของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
-ออกกฎหมาย
-บริหารราชการแผ่นดิน
-กลั่นกรองกฎหมาย
-ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
-แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม