วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

บทบาทและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา



1. ด้านนิติบัญญัติ อันได้แก่
            1.1 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
            1.2 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
            1.3 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบด้วยมีคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
            1.4 การอนุมัติพระราชกำหนด
            1.5 การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
2. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
            การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง การควบคุมดูแลหรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของคณะรัฐมนตรีหรือฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามคำแถลงนโยบายที่ให้ไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
            การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา ผู้ที่มีอำนาจควบคุมได้แก่สภาซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ในบางส่วนรัฐธรรมนูญกำหนดให้เฉพาะแต่สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่มีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหาร แต่บางสมัยก็กำหนดให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดให้ทั้งสองสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย
            ในส่วนของวุฒิสภา บทบัญญัติรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยวิธีการดังนี้
            2.1 การตั้งกระทู้ถาม
            2.2 การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา
                2.3 การตั้งคณะกรรมาธิการ
2.1 การตั้งกระทู้ถาม
            สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามดังกล่าว  เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน  อนึ่งการตอบกระทู้ถามที่สมาชิกวุฒิสภาตั้งถาม อาจทำได้ ๒ กรณี คือ

                (1) ตอบในราชกิจจานุเบกษา
               (2) ตอบในที่ประชุมวุฒิสภา
2.2 การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา
            สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๕ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่มีการลงมติ และการขอเปิดอภิปรายทั่วไปนี้ จะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง ๆ
2.3 การตั้งคณะกรรมาธิการ
            วุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวน สอดส่องการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการจะกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการนั้น มีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด ๆ หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นได้
3. การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแผ่นดิน
            รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบในเรื่องที่มี
ความสำคัญต่าง ๆ วุฒิสภาซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของรัฐสภาจึงย่อมมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจนี้ และมีหน้าที่ในกรณีสำคัญ ๆ ดังสรุปได้ คือ

            3.1 ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
             3.2 รับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ
                3.3 ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
                3.4 ให้ความเห็นชอบในการทำหนังสือสัญญาสำคัญกับนานาประเทศ
3.1 ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
            ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือในกรณีที่
พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือด้วยเหตุอื่นใด ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ  เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

                ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
3.2 รับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ
              ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พระพุทธศักราช 2467 แล้วให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ แล้วให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วจึงประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป
              ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ ให้คณะองคมนตรีเสนอพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว  ให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์นั้นขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป
3.3 ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
                พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว ทั้งนี้มติให้ความเห็นชอบของรัฐสภาต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา
                ในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ  ให้วุฒิสภา
ทำหน้าที่รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบและการลงมติ ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่

3.4 ให้ความเห็นชอบในหนังสือสัญญาสำคัญ
                พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ
สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใด มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติ เพื่อให้การเป็นไปตามสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาโดยที่ประชุมร่วมกัน

4. พิจารณาเลือก แต่งตั้ง ให้คำแนะนำ ให้ความเห็นชอบบุคคลในองค์กรตรวจสอบ
4.1 วุฒิสภาถวายคำแนะนำ
                เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ หลังจากที่ได้ดำเนินการตามกระบวนการคัดเลือกมาแล้ว องค์กรเหล่านั้นประกอบด้วย


คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ซึ่งมีประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอีกสี่คน)

ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ซึ่งมีประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน)

ศาลรัฐธรรมนูญ (ซึ่งมีประธานศาลรัฐธรรมนูญหนึ่งคนและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกสิบสี่คน)

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ซึ่งมีประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกแปดคน)

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ซึ่งมีประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอื่นอีกเก้าคน)
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน)
4.2 วุฒิสภาพิจารณาเลือก
               โดยเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าเป็นคณะกรรมการตุลาการของศาลประเภทต่าง ๆ ดังนี้


กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (จำนวนสองคน)

กรรมการตุลาการศาลปกครอง (จำนวนสองคน)
4.3 วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ
                อันเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้ได้บุคคลผู้จะปฏิบัติหน้าที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป อาทิ

การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดิน
เป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของทั้งหมดซึ่งได้รับ
ความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
การแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติด้วย
5.ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
5.1 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการระดับสูงออกจากตำแหน่ง อันได้แก่

นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา
ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานศาลปกครองสูงสุด
อัยการสูงสุด
กรรมการการเลือกตั้ง
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้พิพากษาหรือตุลาการ
พนักงานอัยการหรือ
ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
            หากบุคคลนั้นมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปทางทุจริตต่อหน้าที่ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ  ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
5.2 วุฒิสภาอาจมีมติให้กรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งได
            เมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้


กระทำการขาดความเที่ยงธรรม

จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

มีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง
6.บทบาทและอำนาจหน้าที่อื่นๆ
            6.1 ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ            6.2 ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
            6.3 ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อรับทราบการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
            6.4 ทำหน้าที่รัฐสภา เพื่อรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
            6.5 ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อรับทราบการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน และรายงานผลการดำเนินงานรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคปีละหนึ่งครั้ง
            6.6 ให้ความเห็นชอบร่วมกันกับสภาผู้แทนราษฎรในการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนด 120 วัน            6.7 ขอเปิดประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ โดยเข้าชื่อร่วมกับ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
            6.8 ตราข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภาและรัฐสภา
            6.9 ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคน
และเปิดเผยบันทึกดังกล่าว
            6.10 ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรอาจให้คำปรึกษาแก่นายกรัฐมนตรีในการดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติในกิจการใดที่อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศหรือประชาชน
            6.11 ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
            6.12 ร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากรรมการการเลือกตั้ง
คนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๓๗ หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๓๙
            6.13 ร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงหรือไม่            6.14 ดำเนินการให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนั้นมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขในการตราพระราชกำหนด
            6.15 เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยว่ามีการเสนอการแปรญัตติหรือ
การกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี
            6.16 เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
            6.17 รับทราบรายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
            6.18 รับทราบรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
            6.19 รับทราบรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ
            6.20 รับทราบรายงานและเสนอความเห็นของคณะกรรมการเลือกตั้ง  คณะตุลาการ
ศาลรัฐธรรมนูญ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นเมื่อครบห้าปีแล้วนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม