วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

เคล็ดลับการท่องตัวบทกฎหมาย

 เราควรจัดตารางการดูตัวบทของเราในแต่ละวันและสามารถท่องได้ทุกเวลา
ที่มีโอกาส ยกตัวอย่าง เช่น วันจันทร์ 04.00 น. – 06.00 น. 
ท่องตัวบท นิติกรรม – สัญญา , หนี้ 
18.00 น. – 20.00 น. 
ท่องตัวบท อาญา ม.1 – 58 , 59 -106 
วันอังคาร ก็จัดอย่างวันจันทร์แต่เปลี่ยนเป็น
วิชาอื่นแทนจนถึงวันอาทิตย์ ก็สามารถท่องได้ครบทุกวิชา 
การท่องตัวบท..ให้ใช้ลักษณะแบบการอ่านตัวบท เหมือนกับ
การอ่านหนังสืออย่าไปกังวลว่าเราจะต้องจำให้ได้ แต่จะต้อง
อ่านซ้ำๆ 2-3 ครั้ง แล้วจึงไปดูมาตราอื่นต่อไป เพราะเมื่อถึงอาทิตย์
ใหม่เราก็ต้องกลับมาท่องตัวบทเดิมอีก ที่ได้จัดตารางเอาไว้ เป็นรอบ
ที่ 2 , 3 และ 4 ซึ่งจะอ่านได้คล่องและเร็วมากขึ้น ในเวลา 1 เดือน 
เราสามารถดูตัวบทได้ครบทุกวิชา 4 รอบ เราต้องท่องเป็นกิจวัตรจนกว่าจะสอบ 
ซึ่งช่วงเดือนที่ 3-4 เราจะท่องได้ครบทุกวิชา โดยใช้เวลาไม่ถึงอาทิตย์ 
เพราะการดูบ่อยๆย่อมชินตาและทำให้เร็วขึ้น 
หมายเหตุ ... แนะนำโดย คุณวิสุทธิ์ อำนวยกิจ ที่ 1 เนติบัณฑิต สมัยที่ 46

.................

ธรรมชาติการท่องตัวบทแต่ละกลุ่มวิชา

กลุ่มวิชา กฎหมายอาญา - ใช้วิธีการท่องตัวบทเป็นกลุ่มที่เกี่ยวโยงกัน เหตุผลเพราะเวลามีปัญหา อุทาหรณ์ มาให้วินิจฉัยจะได้ใช้อย่างถูกต้อง และว่องไว
- ต้องท่องให้ครบทุกข้อความ ทุกตัวอักษร (จำเป็นต้องท่องทุกคำ) โดยไม่ต้องท่องอัตราโทษ ในแต่ละฐานความผิด เนื่องจากหากขาดข้อความตอนใดตอนหนึ่ง อาจมีผลทำให้ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด
- วิธีท่องตัวบทกฎหมายอาญา ท่องโดยการแบ่งองค์ประกอบความผิดออกเป็นข้อๆให้ได้แล้ว ยังต้องพยายามจัดความผิดที่ใกล้เคียงกันรวบรวมไว้ (เพื่อความสะดวกในการตอบข้อสอบ ) หมายถึง ความผิดที่มักจะเกิดควบคู่ไปกับความผิดฐานอื่นในขณะเดียวกัน
เช่น ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ มักเกิดควบคู่กับ ความผิดฐานเสื่อมเสียเสรีภาพในร่างกาย
ความผิดฐานบุกรุก มักเกิดควบคู่กับ ความผิดฐานลักทรัพย์





กลุ่มวิชา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ( รวมทั้งกฎหมายพิเศษต่างๆ )
- อาศัยการดูตัวบทซ้ำไปซ้ำมา จดจำหลักกฎหมายเฉพาะสาระใจความสำคัญที่เป็นหลักกฎหมายเท่านั้น
- การท่องตัวบท ไม่จำเป็นต้องจำทุกตัวอักษร และมีความจำเป็นต้องท่องเป็นช่วงมาตรา เช่น ค้ำประกัน อยู่ในช่วง ม.680 – ม.701 เมื่อรู้ช่วงมาตราแต่ละช่วงแล้วก็ท่องตัวบทเจาะเป็นมาตราไป
- หากตัวบท มาตราไหนมีความยาวค่อนข้างมาก ให้สรุปสาระสำคัญออกมาเฉพาะที่สำคัญ แต่ถ้าตัวบทเนื้อหาสั้นก็ท่องทั้งหมดได้เลย

กลุ่มวิชา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง , อาญา
- โดยปกติ ป.วิ’แพ่ง และ ป.วิ’อาญา ตัวบทมีเนื้อหาค่อนข้างยาว เวลาจะท่องต้องย่อตัวบทออกมา แล้วท่องเอาเฉพาะที่เป็นหลักกฎหมาย , สาระสำคัญของแต่ละเรื่อง ( อาศัยความเข้าใจไปเขียนในตอนตอบข้อสอบโดยอธิบายหลักกฎหมายเพิ่มเติมเข้าไป )
- การท่องตัวบท ป.วิ’แพ่ง และ ป.วิ’อาญา ต้องพยายามท่องเปรียบเทียบกันเสมอเช่น ฟ้องซ้ำ
ป.วิ’แพ่ง กับ ฟ้องซ้ำป.วิ’อาญา 

หมายเหตุ - เคล็ดลับการท่องตัวบททั้งหมดนี้คงจะกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวอะไรไม่ได้ว่า ถ้าได้ปฏิบัติตามแบบนี้แล้วจะประสบความสำเร็จ การที่บุคคลคนหนึ่งกระทำแล้วได้ผลอย่างหนึ่ง แต่เมื่อบุคคลอื่นนำไปปฏิบัติโดยวิธีอย่างเดียวกัน อาจจะเกิดผลที่ดีขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆด้วย ผมขออนุญาตนำข้อแนะนำต่างๆเหล่านี้ที่ได้รับความเมตตาชี้แนะจากรุ่นพี่ที่ประสบ
ความสำเร็จในการเรียนวิชากฎหมาย และ จากบทความต่างๆที่ได้อ่านเจอมา เช่น วารสารเนติบัณฑิต
วารสารกฎหมายวันระพี ฯลฯ 
เพื่อท่านผู้อ่านจะได้นำไปพิจารณาแล้วเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ไปใช้ปรับกับแนวการเรียน การสอบเพื่อศึกษาต่อและเข้าทำงาน ตั้งแต่ระดับ ปริญญาตรี เนติบัณฑิต อัยการ ผู้พิพากษา ตามที่แต่ละท่านจะพิจารณาเห็นสมควรต่อไป





ที่มา  http://www.rak-mor-or.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม