วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

สรุปย่ออาญา แต่ละข้อ

ข้อ 1 . ดูหมิ่น จพง.
ม.136 ผู้ใด ดูหมิ่นจพง. ซึ่งกระทำการ หรือเพราะได้กระทำตามหน้าที่

ต่อสู้ขัดขวาง จพง.
ม. 138 ผู้ใดต่อสู้ขัดขวาง จพง. หรือผู้ซึ่งช่วยเหลือ จพง.ตามกม. ในการปฏิบัติการ ตามหน้าที่
ม. 139 ผู้ใดข่มขืนใจ จพง.ให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นฯ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขุ่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
ม. 140 ว.1 ม.138-139 ได้กระทำโดยมีอาวุธ หรือ 3 คนขึ้นไป 
ว.2 กระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่/ ซ่องโจร ไม่ว่าจะมีอยู่หรือไม่
ว.3 กระทำโดยมี หรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด
ม. 165 ผู้ใดเป็น จพง. มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกม. ป้องกันหรือขัดขวาง มิให้เป็นไปตามกฎหมาย/คำสั่ง

แจ้งความเท็จ ต่อจพง.
ม.137 ผู้ใดแจ้งความอันเป็นเท็จแก่ จพง. ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือ ปชช.เสียหาย
ม.172 ผู้ใดแจ้งความอันเป็นเท็จแก่ พนง.อัยการ ศาล พงส. พนงสืบฯ ซึ่งอาจทำให้ ผู้อื่นหรือปชช.เสียหาย
ม.173 ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งความแก่ พงส. ว่าได้มีการกระทำความผิด 
ม.174 แจ้งความตาม ม.172 / ม.173 เพื่อแกล้งให้บุคคลต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัย 

ชุดทำลาย
ม.141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ซึ่งประโยชน์ ซึ่งตราหรือเครื่องหมาย จพง.ประทับหรือหมายไว้ที่สิงใดๆ เพื่อยึด อายัด รักษาสิ่งนั้นๆ
ม.142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น ทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินหรือเอกสาร เพื่อบังคับการให้เป็นไปตาม กม.
ม. 158 ผู้ใดเป็น จพง. ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์หรือเอกสารใด อันเป็นหน้าที่ของตนที่จะรักษาไว้ หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำเช่นนั้น
ม.184 ผู้ใดเพื่อช่วยผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลง ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ ซึ่งพยานหลักฐาน ในการกระทำความผิด
ม.188 ผู้ใด ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย ทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งพินัยกรรม หรือเอกสารใดของผู้อื่น ซึ่งจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือ ปชช.
ม.199 ผู้ใดลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพ หรือส่วนของศพ เพื่อปิดบังการเกิด หรือตาย

  
  
  
เรียกรับสินบน
ม.143 (คนกลางเรียกรับ) ผู้ใดเรียกรับ ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตน หรือผู้อื่น ตอบแทนที่จะจูงใจหรือได้จูงใจ จพง.สส.สว. สจ.สท.โดยวิธีทุจริต หรืออิทธิพล ให้กระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่ เป็นคุณ/เป็นโทษแก่ผู้ใด
ม. 148 (จพง.ข่มขืนใจ) ผู้ใดเป็นจพง. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบข่มขืนใจ หรือจูงใจ เพื่อให้บุคคลมอบ หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น 
ม.149 (จพง.การเมืองเรียกรับ) ผู้ใดเป็นจพง.สว. สจ.สท. เรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนหรือผู้อื่น เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยหน้าที่
ม.201 (จพง.ยุติธรรมเรียกรับ) ผู้ใดเป็นจพง.ในตำแหน่งตุลาการ พนง.อัยการ พงส. เรียก รับ หรือยอมจะรับฯ 

ให้สินบน
ม. 144 (ให้สินบนจพง.) ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ จพง. สว.สจ.สท. เพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่
ม.167 (ให้สินบนจพง.ยุติธรรม) ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ จพง. ตุลาการ พนง.อัยการ .พงส. เพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่

แสดงตนเป็น จพง.
ม.145 ผู้ใดแสดงตนเป็น จพง.และกระทำการเป็นจพง. โดยที่ตนเองมิได้เป็นจพง.ที่มีอำนาจกระทำการนั้น
ม.146 ผู้ใดไม่มีสิทธ์สวมเครื่องแบบ ประดับเครื่องหมายจพง. ใช้ยศ กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ์

มักออกแซมประเด็นหลัก
ม.147 (จพง.ยักยอก) ผู้ใดเป็นจพง. หน้าที่ ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่น โดยทุจจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นไป 
ม. 157 ผู้ใดเป็นจพง. ปฏิบัติหรือละว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ม. 200 ผู้ใดเป็นจพง.ในตำแหน่งการยุติธรรม กระทำการหรือไม่กระทำการในตำแหน่งโดยมิชอบ เพื่อช่วยให้บุคลลใด รับโทษน้อยลง มิต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น

ปลอมเอกสาร (ตนมีหน้าที่)
ม. 161 ผู้ใดเป็น จพง. มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความในเอกสาร ดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น
ม.162 ผู้ใดเป็น จพง. มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสาร หรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการ
(1) รับรองหลักฐานว่าตนได้กระทำขึ้น หรือกระทำขึ้นต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ
(2) รับรองเป็นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งข้อความอันมิได้มีการแจ้ง
(3) ละเว้นไม่จดข้อความ ซึ่งตนมีหน้าที่ หรือเปลี่ยนแปลงข้อความ
(4) รับรองหลักฐานซึ่งเอกสารมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ



เท็จทั่วไป
ม.179 (เท็จชั้นสอบสวน) ผู้ใดทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อให้พงส. จพง.สืบสวนคดีอาญา เวื่อว่าได้มีความผิดอาญาเกิดขึ้น หรือเชื่อว่าร้ายแรงกว่าที่เป็นจริง
ม.175 (เอาเท็จ 179 ฟ้องผู้อื่นต่อศาล) ผู้ใดเอาความเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือกระทำแรงกว่าที่เป็นความจริง 
ม.177 (เบิกเท็จนั้นในการพิจารณา กรณีพยานบุคคล) ผู้ใดเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี 
ม.180 (นำมาสืบ/แสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ) ผู้ใดนำสืบหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี ถ้าเป็นพยานหลักฐานในข้อสำคัญ

หลบหนี
ม.189 ผู้ใดช่วยผู้อื่นซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด หรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิด เพื่อไม่ให้ต้องรับโทษ โดยให้ที่พำนัก ซ่อนเร้น หรือช่วยไม่ให้ถูกจับกุม
ม.190 ผู้ใดหลบหนีระหว่างถูกคุมขัง
ม.191 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ให้ผู้ที่ถูกคุมขัง พ้นจากการคุมขัง
ม.192 ผู้ใดให้พำนัก ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประกรใดให้ผู้ที่หลบหนีการคุมขัง เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม
ม.204 ผู้ใดเป็นจพง. มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ที่ต้องคุมขัง กระทำด้วยประการใดๆ ให้ผู้ถูกคุมขังหลุดพ้นจากการถูกคุมขัง
ม.205 ว.3 ถ้าผู้กระทำความผิดตาม ม.204 จัดให้ได้ตัวผู้ที่หลุดพ้นคุมขังคืนมาภายใน 3 เดือน ให้งดการลงโทษ

ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร
ม.4 ผู้ใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร ว.2 การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าอยู่ที่ใด
ม.5 ความผิดใดที่การกระทำส่วนหนึ่งส่วนใดในราชฯ ผลแห่งการกระทำเกิดในราชฯ โดยผู้กระทำประสงค์ให้ผลนั้นเกิด หรือย่อมจะเล็งเห็นได้ว่าผลจะเกิด
กรณีเตรียมการ พยายามกระทำการ แม้กระทำนอกราชฯ หากกระทำตลอดไปจนผิดสำเร็จ ผลจะเกิดในราชฯ ถือว่าการตระเตรียมการ หรือพยายามได้กระทำในราชฯ 
ม.6 ความผิดใดที่กระทำในราช ฯ หรือถือว่ากระทำในราชฯ แม้ตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ กระทำนอกราชฯ ถือว่าได้กระทำในราช ฯ
ม.11 ผู้ใดกระทำผิดในราช ฯ หรือถือว่ากระทำผิดในราชฯ ได้รับโทษใน ตปท.มาแล้วทั้หมด/บางส่วน ศาลจะลงโทษน้อยลง หรือไม่ลงโทษก็ได้ 

  
ให้รับโทษในราชอาณาจักร
ม.7 (หลักลงโทษสากล) ผุ้ใด (ใครก็ได้)กระทำความผิด เหล่านี้ นอกราช ฯ ต้องรับโทษในราช ฯ
(1) ความมั่นคง แห่งราช ฯ ม.107-129 (1/1) ก่อการร้าย ม.135/1 -4
(2) ปลอมและปลง ม.240- 249 254 256 257 266(3)(4) (2 ทวิ) เกี่ยวกับเพศ 282 283 (ม.283 ทวิ ไม้เข้าม.7) (3) ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ในทะเลหลวง
ม.8 ผู้ใด (คนไทย) กระทำความผิดนอกราช ฯ และ ผู้กระทำ หรือผู้เสียหายเป็นคนไทย รัฐบาลไทย/รัฐบาลประเทศที่ความผิดเกิดขึ้นร้องขอ ให้ลงโทษ ต้องรับโทษในราช ฯ
ม.9 จพง.รัฐบาลไทย กระทำความผิดตาม ม.147 ถึง 166 ม..200 – ม.205 นอกราช ฯ รับโทษในราช ฯ
ม.10 ผู้ใดกระทำผิดนอกราชฯ ตาม ม.7(2)(3) ม.8 ม.9 ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นอีก ถ้ษศาล ตปท.ปล่อยตัว หรืผู้นั้นพ้นโทษแล้ว ถ้ายังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่ กม.กำหนด หรือไม่ลงโทษก็ได้

ริบทรัพย์สิน 32 ริบทั้งหมด 33 ดุลพินิจ
ม.32 ทรัพย์ใดที่ กม.บัญญัติไว้ ว่าผู้ใดทำ หรือมีไว้เป็นความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นของผู้กระทำผิด และมีผู้ถูกลงโทษตาม พพษ. หรือไม่
ม.33 นอกจาก ม.32 แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งริบ ทรัพย์ซึ่งได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยกระทำความผิด ว.2 เว้นแต่เป็นของผู้อื่น ซึ่งมิได้รู้เห็นในการกระทำความผิด
ม.34 บรรดาทรัพย์สิน (1) ซึ่งได้ให้ ตาม ม.143 ม.144 ม.149 ม.150 ม.167 ม.201 ม.202 
(2) ซึ่งได้ให้เพื่อจูงใจ/เป็นรางวัล บุคคลให้กระทำความผิด ให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่ทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่น 

เพิ่มโทษ ลดโทษ รอการลงโทษ
ม.56 ผู้ใดกระทำความผิดมีโทษจำคุก และศาลจะลงโทษไม่เกิน 3 ปีไม่ปรากฏว่าผู้นั้นเคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือเคยรับลหุโทษ หรือประมาท ศาลจะรอกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษ ก็ได้ แต่ไม่เกิน 5ปี)
ม.57 เมื่อผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตาม ม.56 ศาลจะกำหนดโทษที่รอ หรือลงโทษที่รอก็ได้
ม.58 ถ้ากระทำความผิด มิใช่ลหุ/ประมาท และศาล พพษ. ลงโทษจำคุก ให้ศาลกำหนดโทษที่รอ หรือบวกโทษที่รอ เข้ากับคดีหลังด้วย 

ข้อ 2 และ 3 หลักทั่วไป
ม.59 บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อได้กระทำโยเจตนา เว้นแต่กระทำโดยประมาท ในกรณี กม.บัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อประมาท หรือเว้นแต่กรณีกม. บัญญัติให้ต้องรับผิดแม้กระทำโดยไม่มีเจตนา
การกระทำโดยเจตนา รู้สำนึกในการกระทำ ผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ถือว่าประสงค์/เล็งเห็นผล มิได้ (รู้เท่าใดเจตนาเท่านั้น)
การกระทำโดยประมาท มิใช่โดยเจตนา แต่ปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคลลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย อาจระมัดระวัง แต่หาเพียงพอไม่
การกระทำ ให้หมายรวมถึงผลอันเกิดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
***งดเว้น มีหน้าทีต้องทำแต่ไม่ทำ ผิดเท่ากับเคลื่อนไหวร่างกาย (+ม.80 พยายามได้ด้วย)****
เจตนาตามกฎหมาย
ม.60 ผู้ใดเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งโดยพลาด ถือว่าเจตนาต่อผู้รับผลร้าย แต่มิให้นำ กม.ที่ลงโทษหนักขึ้นเพราะความสัมพันธ์ มาบังคับ
ม.61 ผู้ใดเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยสำคัญผิด จะยกเอาความสำคัญผิด เป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนามิได้

สำคัญผิด
ม.59 ว.3 ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ถือว่าประสงค์/เล็งเห็นผล มิได้ (รู้เท่าใดเจตนาเท่านั้น)
ม.61ผู้ใดเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำแก่อีกบุคคลหนึ่ง โดยสำคัญผิด จะยกเอาความสำคัญผิด เป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนามิได้
ม.62 ว.1 ข้อเท็จจริงใด ถ้ามีอยู่จริง ทำให้การกระทำ ไม่เป็นความผิด ไม่ต้องรับโทษ รับโทษน้อยลง แม้จะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ย่อมไม่มีความผิด หรือยกเว้นโทษ หรือรับโทษน้อยลง

รับโทษหนักขึ้น
ม.62 ว.ท้าย บุคคลต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด ต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้นด้วย
ม.63 ผลการกระทำความผิดใดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลนั้นตองเป็นผลที่ธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้

**** ยกเว้นความรับผิด (ป้องกัน) กระทำต่อผู้ก่อภัย ภัยประทุษร้ายละเมิด กม.โดยคน ไม่จำต้องเลี่ยงภัย
ม.68 ผู้ใดจำต้องกระทำการ เพื่อป้องกันสิทธิ์ตน/ผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม. และภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกัน ผู้นั้นไม่มีความผิด

**** ยกเว้นโทษ (จำเป็น) ไม่จำต้องกระทำต่อผู้ก่อภัย – ภัยอาจเกิดจากสัตว์ – ผู้กระทำต้องหลีกเลี่ยงก่อน
ม.67 ผู้ใดกระทำผิดด้วยความจำเป็น เพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยง / ขัดขืนได้ 
เพื่อให้ตน / ผู้อื่น พ้นจากภยันตราย ที่ใกล้ถึง และไม่สามารหลีกเลี่ยงให้พ้น ตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้น ถ้าพอสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องรับโทษ
ลดโทษ ( 64 65 66 71 ดูพอเข้าใจ) 
ม.72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงโดยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น 
ม.69 ม.67 ม.68 เกินสมควรแก่เหตุ ลงโทษน้อยลง ถ้าเกิดจากความตื่นเต้นตกใจ ความกลัว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำก็ได้

พยายาม 
ม.80 ผู้ใดลงมือกระทำความผิด แต่ไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้วไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด ระวางโทษสองในสามส่วนของโทษ
ม.81 ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผล แต่การกระทำไม่สามารถบรรลุผลอย่างแน่แท้ ถือว่าผู้นั้นพยายาม ลงโทษไม่เกินกึ่งหนึ่ง ถ้ากระทำไปโดยความเชื่องมงาย ศาลจะไม่ลงโทษก็ได้
ม.82 ผู้ใดพยายามกระทำผิด หากยับยั้งเสียเอง ไม่กระทำให้ตลอด กลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำนั้นบรรลุผล ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ถ้ากระทำไปแล้ว ต้องรับโทษความผิดนั้นๆ


ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน
ม.83 ความผิดใดที่กระทำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ผู้ที่ร่วมกระทำผิดนั้นเป็นตัวการ 
ม.84 ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด ด้วยบังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน ยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้
ถ้าผู้ถูกใช้กระทำความผิด ผู้ใช้รับโทษเสมือนตัวการ ถ้าความผิดมิได้กระทำลง ผู้ใช้ระวางโทษ 1/3 
ม.86 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ เป็นการช่วยเหลือ ให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อน หรือขณะกระทำความผิด แม้ผู้กระทำความผิดมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวก ผู้นั้นเป็นผู้สนันสนุน 
ม.87 การกระทำผิดเพราะมีผู้โฆษณา ถ้ากระทำเกินขอบเขต ผู้สนับสนุนรับผิดเพียงในขอบเขต 
ม.88 ถ้าความผิดที่ได้ใช้ โฆษณา ประกาศได้กระทำลงถึงขั้นลงมือ แต่ผู้ใช้เข้าขัดขวาง การกระทำไม่บรรลุผล ผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้ประกาศรับโทษ 1/3 ผู้สนับสนุนไม่ต้องรับโทษ

**ผิดโดยตรง – ผิดโดยอ้อม – ผู้ใช้
**ป้องกัน – บันดาลโทสะ ** ** ป้องกัน – จำเป็น**

ข้อ 4 อั้งยี่ ซ่องโจร
ม.209 ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ เพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นผิดเป็นอั้งยี่
ม.210 ผู้ใดสมคบกัน 5 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิด ที่มีโทษจำคุก 1 ปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำผิดฐานเป็นซ่องโจร
ม.213 ถ้าสมาชิกอั้งยี่หรือพรรคพวกซ่องโจร กระทำผิด สมาชิกที่อยู่ด้วยขณะกระทำ หรืออยู่ด้วยในที่ประชุม แต่ไม่คัดค้าน หัวหน้า ผจก. ผู้มีตำแหน่งในอั้งยี่ ซ่องโจร ต้องระวางโทษทุกคน
ม.215 (มั่วสุม) ผู้ใดมั่วสุม 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้ หรือกระทำการให้เกิดความวุ่นวาย
ม.216 (มั่วสุม) เมื่อ จพง.สั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำความผิด ให้เลิกไป ผู้ใดไม่เลิกต้องระวางโทษ 

วางเพลิงเผาทรัพย์
ม.217 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น
ม.218 ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ 
(1)โรงเรือน เรือ แพที่คนอยู่อาศัย (2) โรงเรือน เรือ แพ อันเป็นที่เก็บ หรือที่ทำสินค้า
(3) โรงมหรสพ สถานที่ประชุม (4) โรงเรือนสาธารณสมบัติแผ่นดิน วัด โบสถ์ฯ (5) ส.รถไฟ ท่าอากาศฯ ที่จอดรถ เรือ สาธารณะ (6) เรือกลไฟ เรือยนต์5ตันขึ้น อากาศยาน รถไฟขนส่งสาธารณะ
ม..219 ผู้ใดตระเตรียมการเพื่อกระทำความผิด ม.217 -218 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพยายาม 
ม.220 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น 
ม.224 ถ้าการกระทำตามม.217 218 221 222 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย หรือสาหัสต้องระวางโทษ 
ม.225 ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาท เป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหาย หรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตบุคคลอื่น 
ม.233 ผู้ใดใช้ยานพาหนะรับจ้างขนส่งคนโดยสาร เมื่อพาหนะนั้นมีลักษณะ หรือมีการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในยานพาหนะนั้น ต้องระวางโทษ 

ปลอมแปลงเงินตรา
ม.240 ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา หรือพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรฯ ผู้นั้นผิดฐานปลอมเงินตรา 
ม.242 ผู้ใดโดยทุจริตให้เหรียญกษาปณ์ ซึ่งรัฐบาลออกใช้มีน้ำหนักลดลง 
ม.243 ผู้ใดนำเข้าซึ่งสิ่งใดๆ อันเป็นของปลอมตาม ม.240 หรือของแปลง ตาม ม.241 ต้องระวางโทษ 
ม.244 ผู้ใดมีไว้เพื่อนำออกใช้ ซึ่งตนได้มาโดยรู้ว่า เป็นของปลอม หรือของแปลง ต้องระวางโทษ
ม.245 ผู้ใดได้มาซึ่ง ของปลอม/แปลง ต่อมารู้ว่าเป็นของปลอม/แปลง ยังขืนนำออกใช้ 
ม.247 ถ้าการกระทำดังกล่าว กระทำต่อเงินตราฯ ตปท. ผู้กระทำรับโทษกึ่งหนึ่ง 

ปลอมเอกสาร
ม.264 ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ แก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม ลงลายมือชื่อปลอม น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือ ปชช. ถ้าได้กระทำเพื่อ ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเชื่อว่าเป็นเอกสารจริง ผู้นั้นผิดปลอมเอกสาร
ผู้ใดกรอกข้อความในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอม หรือฝ่าฝืนคำสั่ง ถ้านำเอาไปใช้ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใน หรือ ปชช. ผู้นั้นปลอมเอกสาร
ม.265 ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารทางราชการ 
ม.266 ผู้ใดปลอม เอกสารสิทธิทางราชการ พินัยกรรม ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ตั๋วเงิน บัตรเงินฝาก ต้องระวางโทษ 
ม.267 ผู้ใดแจ้งให้ จพง.จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชน หรือเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นหลักฐานโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือ ปชช. 
ม.268 ผู้ใดใช้ หรืออ้างเอกสาร ตามม.264 - ม.267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือ ปชช. 
ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ม.276 ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น โดยขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย โดยทำให้ผู้อื่นไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น
การกระทำตามว.1 หมายความว่ากระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยใช้อวัยวเพศผู้กระทำกระทำกับ อวัยวเพศ ปาก ทวารหนัก หรือใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับ อวัยวเพศ ทวารหนัก ปาก 
ม.277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็ก อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีตน โดยเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม 
ม.278 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี โดยขู่เข็ญ ใช้กำลัง บุคคลนั้นไม่สามารถขัดขืนได้ หรือทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น 
ม.279 ผู้ใดกระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม 
ม.282 ผู้ใดเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระ จัดหา ล่อไป หรือพาไปเพื่อการอนาจาร แม้ผู้นั้นยินยอมก็ตาม 
ม.284 ผู้ใดพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง ขุ่เข็ญ ใช้กำลัง ข่มขืนใจ ต้องระวางโทษ 




ข้อ 5 และ 6 ความผิดต่อชีวิต
ม.288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น 
ม.289 ผู้ใดฆ่า / บุพการี / จพง.กระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำ / ผู้ช่วยเหลือ จพง. หรือเหตุเพราะจะช่วย หรือได้ช่วย / โดยไตร่ตรองไว้ก่อน / โดย ทรมานหรือทารุณโหดร้าย / เพื่อตระตรียมการ หรือสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่น / เพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งประโยชน์ที่ตนกระทำความผิดอื่น หรือปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนกระทำไว้ 
ม.290 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ 
ม.291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท การกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 

ผิดต่อร่างกาย
ม.295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตรใจของผู้อื่น ผู้นั้นผิดฐานทำร้ายร่างกาย 
ม.296 ผู้ใดทำร้ายร่างกาย มีลักษณะ ตาม ม.289 ต้องระวางโทษ 
ม.297 ผู้ใดกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษ 
ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เสียฆานประสาท เสียอวัยวะ/ความสามรถในการสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว แท้งลูก จิตรพิการติดตัว ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรังอาจตลอดชีวิต เจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาเกิน 20 วัน ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ เกิน 20 วัน 
ม..298 ผู้ใดกระทำผิดตาม 297 ถ้าความผิดมีลักษณะดัง 289 ต้องระวางโทษ 
ม.300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษ 

ทำให้แท้งลูก
ม.301 หญิงใดทำให้ตนแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก 
ม.302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอม 
ม.303 ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม 
ม.304 ผู้ใดพยายาม ม.301 ม.302 ว.แรก ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ 
ม.305 ผู้กระทำการตาม ม.301 ม.302 ถ้าเป็นแพทย์ และ ทำเนื่องจากสุขภาพของหญิง หรือหญิงมีครรภ์ เนื่องจาก ม.276 277 282 283 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด 
**** ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้น 305 แพทย์ต้องรับผิดตาม 302 ฝ่ายหญิงผิด 301 ****ถ้าพยายามทำแท้งแล้วหญิงสาหัส ผู้กระทำยังต้องรับโทษอยู่ (ไม่เข้าข้อยกเว้น 304) ****ทำแท้งหญิงสาหัส 302ว.2 กับ 303ว.2 ใกล้เคียงกับ 297(5)*

ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ
ม.309 ผู้ใดข่มขืนใจให้ผู้อื่นกระทำการ/ ไม่กระทำการใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจหรือของผู้อื่น หรือใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำ
ถ้ากระทำโดยมีอาวุธ หรือ 5 คนขึ้นไป หรือให้ผู้ถูกข่มขืนใจทำ ถอน ทำให้เสียหาย ทำลายเอกสารสิทธิ
กระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่ 
ม.337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลัง หรือขู่เข็ญ ฯ ผู้นั้นผิดฐานกรรโชก 

หน่วงเหนี่ยวกักขัง
ม.310 ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย 
ม.310 ทวิ ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย และให้ผู้อื่นนั้นกระทำการใดให้แก่ผู้กระทำหรือบุคคลอื่น 
ม.311 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถูกหน่วงเหนี่ยว กักขัง ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย 

เรียกค่าไถ่
ม.313 ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ 1. เอาตัวเด็กไม่เกิน 15 ปีไป 2.เอาคัวบุคคล ตั้งแต่ 15 ปี (ไม่สมัครใจ) 3. หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลไป 
ม.314 ผู้ใดสนับสนุน ม.313 ต้องระวางโทษตัวการ 
ม.315 ผู้ใดเป็นคนกลาง โดยเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างใดที่มิควรได้ จากผู้กระทำผิด ม.313 หรือจากผู้ที่จะให้ค่าไถ่ 
ม.316 ถ้าผู้กระทำผิดตาม 313 – 315 จัดให้ผู้ถูกเอาตัวไป ได้รับเสรีภาพก่อน พพษ. ลงโทษน้อยลงได้ 
ม.1(13) ค่าไถ่ ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกกักขัง หน่วงฯ 

พรากผู้เยาว์
ม.317 ผู้ใดปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้ดูแล
ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กที่ถูกพราก ระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พราก
ถ้ากระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่ออนาจาร ต้องระวางโทษ 
ม.318 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่า15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย (ว.2 ว.3 เหมือน 317.) 
ม.319 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี เพื่อหากำไร หรือการอนาจาร โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย 

หมิ่นประมาท
ม.326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ สาม โดยน่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง 
ม.329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท 
ม.330 ถ้าผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อหาที่ว่าหมิ่นประมาท เป็นความจิง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
ห้ามพิสูจน์ถ้าใส่ความเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์ไม่เป็นประโยชน์ต่อ ปชช. 
ม.331 คู่ความหรือทนายความของคู่ความ แสดงความคิดเห็นในกระบวนการพิจารณา เพื่อประโยชน์แก่คดี ไม่ผิด 


ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์
ม.334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำผิดลักทรัพย์ 
ม.335 ผู้ใดลักทรัพย์ / ในเวลากลางคืน / ในบริเวณเหตุเพลิงไหม้ ระเบิด อุทกภัย ที่ที่เกิดอุบัติเหตุ ทุกขภัยแก่รถไฟ ยานพาหนะอื่น หรือภัยพิบัติทำนองเดียวกัน หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัวภยันตราย / ทำอันตรายหรือโดยผ่าน สิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์ / เข้าช่องทางไม่ได้จำนงเป็นทางเข้า หรือผู้เป็นใจเปิดไว้ให้ / แปลง ปลอม ตัว มอมหน้า เพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้ / ลวงว่าเป็น จพง. / โดยมีอาวุธ หรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป / ในเคหะสถาน สถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่จัดไว้เพื่อให้บริการสาธารณะที่ตนเข้าไปไม่ได้รับอนุญาต หรือซ่อนตัวในสถานที่นั้น ๆ / สถานที่บูชาสาธารณะ ส.รถไฟ ท่าอากาศยาน ที่จอดรถ /เรือ สถานที่สำหรับขนถ่ายสินค้า / ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ / ที่เป็นของนายจ้าง หรือครอบครองของนายจ้าง / ที่เป็นของผู้มีอาชีพกสิกรรม ผลิตภัณฑ์พืชพันธุ์สัตว์ เครื่องมือประกอบกสิกรรม หรือได้จากกสิกรรมนั้น
ถ้ากระทำโดยจำใจ ยากจนเหลือทนทาน ทรัพย์นั้นราคาเล็กน้อย ศาลจะลงโทษ ตาม ม.334 ก็ได้ 
ม.336 ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
ม. 336 ทวิ ผู้ใดกระทำความผิด ม.334 335 335ทวิ 336 โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือให้เข้าใจว่าเป็นทหาร/ตำรวจ 
ม. 338ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนเองหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะเป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ ซึ่งการเปิดเผยนั้นทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลอื่นเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น รีดทรัพย์
ม.339 ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
-ให้ความสะดวกแก่การลักหรือพาทรัพย์ไป - ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
- ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ -ปกปิดการกระทำความผิดนั้น
- ให้พ้นจากการจับกุม ผู้นั้นผิดฐานชิงทรัพย์
ถ้ากระทำต่อโค กระบือ เครื่องกลเครื่องจักรสำหรับประกอบกสิกรรม หรือ อนุมาตรา 335 
ม.340 ผู้ใดชิงทรัพย์ โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำผิดปล้นทรัพย์
ถ้าในการปล้นทรัพย์ ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใด มีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำ (ทั้งหมด) ต้องระวางโทษ 
ม.340 ตรี ผู้ใดกระทำความผิด ตาม ม.339 339ทวิ 340 340ทวิ โดยแต่งเครื่องแบบทหาร/ตำรวจ หรือให้เข้าใจว่าเป็น




ยักยอก ฉ้อโกง
ม.352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์เป็นของตน หรือบุคคลที่ 3โดยทุจริต ผู้นั้นผิดยักยอก / ว.2 ผู้อื่นส่งมอบโดยสำคัญผิด * เป็นทรัพย์สินหาย ซึ่งผู้กระทำเก็บได้ รับโทษกึ่งหนึ่ง ม.353 ผู้ใดรับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดด้วยประการใดโดยทุจริต เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ใน ลักษณะทรัพย์สิน (ไม่เกิดความเสียหายไม่ครบองค์ประกอบ) 
ม.354 การกระทำม.352 353 ผู้กระทำผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่นตามคำสั่งศาล ตามพินัยกรรม หรือในฐานผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันเป็นที่ไว้วางใจของ ปชช. 
ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้
ม.341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่ 3 ทำ ถอน ทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นผิดฉ้อโกง 
ม.349 ผู้ใดเอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์อันตนจำนำไว้แก่ผู้อื่น ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ (สังหา) 
ม.350 ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่น ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่บุคคลอื่น แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้อันไม่เป็นความจริง (สังหา - อสังหา) 

กรรโชก รับของโจร ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก
ม.337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่ากาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่ 3 จนผู้นั้นยอมเช่นว่านั้น กระทำผิดฐานกรรโชก
ถ้ากรรโชกโดย ว่าจะฆ่า /ทำร้าย/วางเพลิง หรือมีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ ต้องระวางโทษ
ม.357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ฐาน ลัก วิ่ง ชิง ปล้น กรร รีด ฉ้อ ยัก หรือ จพง.ยักยอก ผู้นั้นผิดฐานรับของโจร
ม.358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ (ต้องมีเจตนาด้วยนะ)
ม.362 ผู้ใดเข้าไปในอสังหาฯของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ เป็นการรบกวนการครอบครองของเขาโดยปกติสุข 
ม.264 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เข้าไปหรือซ่อนตัวในเคหสถาน อาคาร/สนง. ของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามได้ไล่ให้ออก 
ม.365 ถ้า ม.362-364 กระทำโดยใช้กำลัง หรือขู่เข็ญว่าจะใช้ / โดยมีอาวุธหรือโดย 2 คนขึ้นไป / ในเวลากลางคืน ยอมความไม่ได้



ที่มา  http://www.netithai.com

1 ความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม