วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

โมฆะกรรม ต่างกับ โมฆียะกรรม อย่างไร

  โมฆะ   หมายถึง   นิติกรรมใดๆที่ทำนั้นเป็นอันเสียเปล่าตั้งแต่ต้น  ผลก็คือ  เสมือนว่าไม่เคยมีการทำนิติกรรมนั้นมาก่อน(นิติกรรม=สัญญาต่างๆ) 
          โมฆียะ  หมายถึง  การไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมต่างๆ  โมฆียะนี้ให้ให้ผลสองทางคือ  ยอมรับนิติกรรมนั้น  หรือ  ปฏิเสธนิติกรรมนั้น  
              ๑.  ยอมรับนิติกรรม  ก็คือสัญญาต่างๆที่เป็นโมฆียะ  และเรายอมรับหรือตกลงหรือยืนยังที่จะยังคงทำนิติกรรมนั้นต่อไป 
              ๒.  ปฏิเสธนิติกรรมนั้น  ก็คือสัญญาต่างๆที่ไม่สมบูรณ์บางส่วน  เมื่อเรารู้ถึงความไม่สมบูรณ์ของนิติกรรมนั้นเราจึงปฏิเสธไม่ยอมรับนิติกรรมนั้น  ทำให้ผลกลายเป็นเสียเปล่า  ผลข้อนี้จะเหมือนกับโมฆะ  หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า  เมื่อเราปฏิเสธผลนั้นก็จะกลายเป็นโมฆียะทันที 
   

            (เสริม) 
            การให้สัตยาบัน   คือการยอมรับ  ตกลง  ตอบรับ  ฯลฯ  เป็นผลทางบวก 
            โมฆะกรรม    ไม่สามารถให้สัตยาบันใดๆได้เลย  (ขัดต่อกฏหมาย(ผิดกฏหมายฯลฯ) ) 
             โมฆียะกรรม     สามารถให้สัตยาบันได้  ผู้ที่สามารถให้สัตยาบันได้เช่น  ผู้ปกครองของบุคคลนั้น   ผู้ปกครองของผู้เยาว์  ผู้ปกครองของคนเสมือนไร้ความสามารถหรือคนวิกลจริต ฯลฯ


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




นิติกรรมที่เป็นโมฆะ คือนิติกรรมที่ถือว่าไม่ได้มีอะไรกันมาตั้งแต่ต้น โดยหากเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาให้คืนกลับฐานนะเดิมเช่น สัญญาซื้อขายที่เป็นโมฆะก็คือไม่มีการทำสัญญากันเลย ให้ผู้ซื้อคืนทรัพย์ให้ผู้ขาย และให้ผู้ขายคืนราคาให้แก่ผู้ซื้อ คือถือว่าไม่ได้มีการทำสัญญากันเกิดขึ้นเลย และที่สำคัญคือนิติกรรมที่เป็นโมฆะจะไม่สามารถให้สัตยาบันได้ เช่นการทำนิติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฏหมาย นิติกรรมที่พ้นวิสัย 
นิติกรรมที่เป็นโมฆียะคือนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้น สามารถให้สัตยาบัน หรือบอกล้างได้โดยผู้ที่มีอำนาจปกครองเช่นผู้ปกครองของผู้เยาว์ ผู้พิทักษ์ของผุ้เสมือนไร้ความสามารถ เช่นผู้เยาว์ทำสัญญาซื้อรถจักรยานยนต์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองถือว่าเป็นโมฆียะ หากภายหลังผู้ปกครอง(พ่อ แม่) ทราบแล้วยอมให้สัตยาบันก็ถือว่าสัญญานั้นเป็นสัญญาที่สมบูรณ์มาตั้งแต่ต้น แต่ถ้าผู้ปกครองไม่ยินยอมก็จะบอกล้างสํญญานั้น ก็ถือว่าสั้ญญานั้นเป็นโมฆะคือเสียมาตั้งแต่ต้น คนขายรถก็ต้องคืนเงิน ผู้เยาว์ก็ต้องเอารถไปคืน การทำนิติกรรมโดยสำคัญผิด ถูกข่มขู่ กลฉ้อฉลก็ถือว่าเป็นโมฆียะได้ 
มีอาจารย์บางท่านเปรียบเทียบคำว่าโมฆะเหมือนเมล็ดข้าวที่เสียแล้ว ไม่สามารถนำไปปลูกให้ขึ้นได้อีก  ส่วนโมฆียะเสมือนเมล็ดข้าวที่แคระแกรน สามารถนำไปปลูกให้งอกเป็นต้นได้แต่ไม่สมบูรณ์ หากดูแลดีต้นข้าวก็สามารถเจริญเติบโตดีคือการให้สัตยาบัน  หากไม่ดูแลต้นข้าวก็จะตายก็คือการบอกล้างนั่นเอง

2 ความคิดเห็น:

  1. นิติกรรม
    การกระทำที่จะเป็นนิติกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 5 ประการ
    1. นิติกรรมต้องเริ่มจากการกระทำของบุคคลโดยการแสดง เจตนา
    2. การแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย
    3. การแสดงเจตนาทำโดยสมัครใจ
    4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตาม กฎหมาย (นิติสัมพันธ์) ตามที่แสดงเจตนาออกมา
    5. มีการเคลื่อนไหวในสิทธิคือ เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ
    ความสมบูรณ์ของนิติกรรม
    1. ความสามารถของผู้ทำนิติกรรม
    2. วัตถุประสงค์ของนิติกรรม
    3. แบบของนิติกรรม
    ความหมายโมฆะกรรมและโมฆียะกรรม
    โมฆะกรรมคือ นิติกรรมที่ตกเป็นอันเสียเปล่า ใช้บังคับไม่ได้ไม่เกิดผลในทางกฎหมายและไม่ทำให้คู่กรณีมีความผูกพันกันตามกฎหมาย

    โมฆียะกรรมคือ นิติกรรมที่เมื่อทำขึ้นแล้วมีผลผูกพันกันได้ตามกฎหมาย แต่ก็อาจถูกบอกล้างได้ในภายหลัง ซึ่งจะทำให้นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะมาแต่วันเริ่มแรกทำนิติกรรม แต่ถ้าไม่มีการบอกล้างจนล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้หรือถ้ามีการรับรองคือมีการให้สัตยาบันรับรู้หรือรับรองนิติกรรมนั้น ก็จะทำให้นิติกรรมนั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรกและใช้ได้ตลอดไป จะมาบอกล้างกันอีกต่อไปไม่ได้
    ข้อแตกต่างระหว่างโมฆะกรรมและโมฆียะกรรม
    โมฆะกรรม: เป็นการกระทำที่เสียเปล่ามาแต่ต้นไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย
    โมฆียะกรรม: เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้ได้จนกว่าจะถูกบอกล้าง
    โมฆะกรรม: เสียเปล่าโดยไม่จำเป็นต้องบอกล้าง
    โมฆียะกรรม: เสียเปล่าต่อเมื่อมีการบอกล้างให้ตกเป็นโมฆะ
    โมฆะกรรม: ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนมีสิทธิกล่าวอ้างความเสียเปล่าได้
    โมฆียะกรรม: ผู้มีสิทธิบอกล้างให้เป็นโมฆะได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลซึ่งกฎหมายบัญญัติให้สิทธิไว้โดยเฉพาะ
    โมฆะกรรม: ไม่อาจให้สัตยาบันได้เพราะเป็นการกระทำที่เสียเปล่ามาแต่ต้น
    โมฆียะกรรม: อาจให้สัตยาบันได้
    โมฆะกรรม: การกล่าวอ้างถึงความเสียเปล่าไม่มีกำหนดอายุความหรือกำหนดเวลา
    โมฆียะกรรม: มีกำหนดเวลาบอกล้าง ถ้าไม่บอกล้างภายในกำหนดเป็นอันหมดสิทธิ
    มาตราที่น่าสนใจ
    มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้อง ชัดแจ้งตามกฎหมายโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ
    มาตรา 152 การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฏหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ
    มาตรา 153 การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ
    มาตรา156 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมวามสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมและความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม
    มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
    มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลกเป็นโมฆียะ
    มาตรา 164 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
    มาตรา 172 โมฆะกรรมไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้
    มาตรา 176 โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกและให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้คืนกลับเช่นนั้นได้ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้แทน
    มาตรา 181 โมฆียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลา 1ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้หรือเมื่อพ้นเวลา 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 มกราคม 2556 เวลา 11:02

    โมฆะ,โมฆียะ

    โมฆะ กับ โมฆียะ เป็นคำกฎหมายที่คนส่วนใหญ่เคยได้ยิน แต่อาจยังสงสัยถึงความหมายและความแตกต่างของคำดังกล่าว ผู้เขียนขออธิบายง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

    โมฆะ แปลว่า เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย เช่น สัญญาเป็นโมฆะ และเมื่อกล่าวถึงคำ โมฆะ แล้ว ขออธิบายคำว่า โมฆกรรม ที่แปลว่า นิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่มีผลบังคับหรือผูกพันตามกฎหมาย ไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่ง จะยกความเสียเปล่าขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ เช่น การที่บุคคลหนึ่งทำสัญญาซื้อขายยาบ้ากับบุคคลอื่น ซึ่งเป็นสัญญาที่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นตกเป็นโมฆะ

    โมฆียะ แปลว่า ที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมีการให้สัตยาบัน และเมื่อกล่าวถึงคำ โมฆียะ แล้ว ขออธิบายคำว่า โมฆียกรรม ที่แปลว่า นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก อธิบายเข้าใจง่าย ๆ คือ นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้น เป็นนิติกรรมที่กระทำโดยผู้มีสิทธิ์ แต่สิทธิ์นั้นยังไม่สมบูรณ์ อาจเป็นเพราะด้วยสาเหตุต่าง ๆ เช่น ด้วยความอ่อนอายุ ด้วยความไร้ความสามารถตามคำสั่งศาล แต่อาจจะสมบูรณ์ได้โดยการให้สัตยาบัน ซึ่งก็คือการรับรองโดยผู้มีอำนาจ เช่น การที่เด็กหรือผู้เยาว์ทำนิติกรรมซื้อขายทรัพย์สินเกินฐานานุรูปของตนเอง เป็นต้นว่าไปทำสัญญาซื้อขายบ้านหรือรถยนต์กับบุคคลภายนอก โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองของผู้เยาว์ก่อน สัญญาซื้อขายนั้นก็เป็นโมฆียกรรม ทั้งนี้ ถ้าผู้ปกครองให้สัตยาบันก็ถือว่านิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์มาตั้งแต่เริ่มแรก แต่ถ้าผู้ปกครองบอกล้างหรือไม่ให้สัตยาบัน นิติกรรมนั้นก็จะเป็นโมฆะมาตั้งแต่ต้น

    ตอบลบ

บทความที่ได้รับความนิยม