วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โนตารี พับลิค (Notary Public) คืออะไร

โนตารี พับลิค (Notary Public) หรือ โนตาเรียล เซอร์วิส แอทโทนี่ (Notarial Services Attorney)ในประเทศไทย คืออะไร

Notary Public หรือ Notarial services Attorney ในต่างประเทศหมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากทางราชการของประเทศนั้นๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ มีหน้าที่ในการจัดทำสัญญา รับรองลายมือชื่อในเอกสาร ลงชื่อในฐานะเป็นพยานใน เอกสาร รับรองเอกสารนั้นๆ ว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ ให้ทำคำสาบาน หรือทำหน้าที่อื่นๆ ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้และตามหลักปฏิบัติของประเทศนั้นๆ ส่วนมากเอกสารเหล่านั้นจะนำไปใช้ในต่างปรเทศ หรือสถานฑูลประจำประเทศไทย
     ในประเทศไทยทนายความที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความ และได้รับอนุญาตให้ทำรับรองลายมือชื่อ และเอกสารจากสภาทนายความ เป็นผู้ทำหน้าที่ Notary Public หรือ Notarial services Attorney โดยสภาทนายความ (The Lawyers council Of Thailand)ได้ออกข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อ และเอกสาร พ.ศ. 2551 และระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความ ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2552 พร้อมกับเปิดอบรมหลักสูตรทนายความ ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ให้แก่ทนายความเพื่อเป็นผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อ และเอกสาร


หน้าที่ของ Notary Public หรือ Notarial services Attorney ดังนี้

*รับรองลายมือชื่อในเอกสาร
*รับรองนิติกรรมที่เอกชนทำขึ้น
*รับรองคำแปลเอกสาร
*รับรองข้อเท็จจริง
*รับรองสำเนาเอกสาร
*รับรองความมีอยู่ของเอกสาร
*จัดทำคำสาบาน
*จัดทำบันทึกคำให้การ
*ทำคำคัดค้านตราสาร
*รับรองตัวบุคคล
*ทำหน้าที่อื่นที่กฎหมายกำหนด

การปฎิบัติหน้าที่ของทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามแนวทางสภาทนายความ มีดังนี้ ทนายความผู้ทำคำรับรองต้องไม่เลือกปฎิบัติ ปฎิบัติหน้าที่ได้เพียงในฐานะพยานรู้เห็นข้อเท็จจริงเท่านั้น การรับรองลายมือชื่อต้องให้ผู้ลงลายมือ ชื่อมาแสดงตัวต่อหน้า และต้องตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันตัวบุคคล ทนายความผู้ทำคำรับรองต้องให้ความสำคัญแก่ข้อเท็จจริงและเอกสาร ที่ตรวจสอบยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไป และต้องไม่เปิดเผยข้อมูล หรือความลับที่ตนได้รับมาเนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ทำคำรับรอง

ดังนั้น การรับรองลายมือชื่อ หรือรับรองเอกสาร หรือจัดทำเอกสารคำรับรองเพื่อนำเอกสาร
หรือสำเนาเอกสารเหล่านั้นไปใช้ จึงต้องทราบวัตถุประสงค์ ประโยชน์ และหน้าที่ของ 
Notary Public หรือ Notarial Services Attorney จึงจะได้ประโยชน์ ตามความต้องการของผู้รับการรับรอง เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ของแต่ละประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม