วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กฎหมายแพ่ง 1 : บุคคล นิติกรรม สัญญา

การใช้การตีความกฎหมายและบททั่วไป บุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดา : ความสามารถ นิติบุคคล นิติบุคคล : สมาคม นิติบุคคล : มูลนิธิ นิติกรรมและการแสดงเจตนา การควบคุมการแสดงเจตนา โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม เงื่อนไขและเงื่อนเวลา ระยะเวลาและอายุความ สัญญา : หลักทั่วไป การเกิด การตีความและประเภทของสัญญา ผลแห่งสัญญา,มัดจำ,เบี้ยปรับ การเลิกสัญญา



สรุปกฎหมายแพ่ง 1

กฎหมายแพ่ง 1 บุคคล นิติกรรม สัญญา
หน่วยเน้น หน่วยที่ 3, 7-9, 12-14
แบ่งเนื้อหาได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 หน่วยที่ 3 เรื่องความสามารถของบุคคล
1. บุคคลบรรลุนิติภาวะ มีได้ 2 กรณีตามมาตรา 19,20
2. ผู้เยาว์ทำนิติกรรม (ไม่รวมเรื่องนิติเหตุ เช่น ละเมิด) มีหลักทั่วไปตามมาตรา 21 ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆียะ มีข้อยกเว้นที่ไม่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ คือ
1) นิติกรรมที่ได้สิทธิหรือพ้นหน้าที่ มาตรา 22
2) นิติกรรมที่ต้องทำเองเป็นการเฉพาะตัว มาตรา 23
3) นิติกรรมที่จำเป็นในการดำรงชีพ มาตรา 24
4) กรณีผู้เยาว์ทำพินัยกรรม มาตรา 25
5) ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สิน มาตรา 26
6) ผู้เยาว์ประกอบธุรกิจ หรือสัญญาจ้างแรงงาน มาตรา 27
2. บุคคลไร้ความสามารถ
1) กรณีการขอให้ศาลสั่งบุคคลผู้วิกลจริตให้เป็นคนไร้ความสามารถ มาตรา 28
2) ผลของนิติกรรมที่ผู้ไร้ความสามารถกระทำลง ตกเป็นโมฆียะ มาตรา 29 แม้ได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาล ก็ตกเป็นโมฆียะ
3) ผลของนิติกรรม ที่บุคคลวิกลจริตที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถกระทำลง มาตรา 30 เป็นโมฆียะต่อเมื่อ ได้กระทำขณะผู้นั้นจริตวิกล + อีกฝ่ายหนึ่งรู้ด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต
3. บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
1) การขอให้ศาลสั่งว่าเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ มาตรา 32
2) นิติกรรมที่คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มาตรา 34

กลุ่มที่ 2 หน่วยที่ 7-9 เรื่องนิติกรรม
1. ความหมายของนิติกรรม มาตรา 149
2. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามด้วยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน มาตรา 150
3. นิติกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบ มาตรา 152 (ทำความเข้าใจเรื่องทำเป็นหนังสือ และการมีหลักฐานเป็นหนังสือ)
4. นิติกรรมที่ไม่ได้เป็นไปตามความสามารถของบุคคล มาตรา 153
5. เจตนาซ่อนเร้น มาตรา 154
6. เจตนาลวง มาตรา 155 วรรค 1
7. นิติกรรมอำพราง มาตรา 155 วรรค 2 บังคับตามนิติกรรมที่ถูกอำพราง
8. สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม มาตรา 156
9. สำคัญผิดในคุณสมบัติของนิติกรรม มาตรา 157
10. กลฉ้อฉล มาตรา 159 กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ มาตรา 161 กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง มาตรา 162 กลฉ้อฉลทั้งสองฝ่าย มาตรา 163
11. การข่มขู่ มาตรา 164 ขนาดของการข่มขู่ มาตรา 165 บุคคลภายนอกข่มขู่ มาตรา 166
12.การแสดงเจตนาต่อบุคคลเฉพาะหน้า มาตรา 168
13. การแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง มาตรา 169 โดยเฉพาะมาตรา 169 วรรค 2 ซึ่งต้องนำไปใช้ในเรื่องสัญญา
14. การแสดงเจตนาต่อผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ มาตรา 170
15. โมฆะกรรม มาตรา 172, 173, 174
16. ผู้บอกล้างโมฆียกรรม มาตรา 175 ต้องเป็นบุคคลตามมาตรานี้เท่านั้นจึงจะมีสิทธิบอกล้างโมฆียกรรม บุคคลอื่นไม่มีสิทธิ
17. ผลของการบอกล้างโมฆียกรรม มาตรา 176
18. การให้สัตยาบันโมฆียกรรม มาตรา 177
19.วิธีการบอกล้างหรือการให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง มาตรา 178
20. ความสมบูรณ์ของการให้สัตยาบัน มาตรา 179
21. ระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียกรรม มาตรา 181

กลุ่มที่ 3 หน่วยที่ 12-14 เรื่องสัญญา
1. คำเสนอ
1) คำเสนอมีระยะเวลาให้ทำคำสนอง มาตรา 354
2) คำเสนอต่อบุคคลที่อยู่ห่างกัน มาตรา 355
3) คำเสนอต่อบุคคลเฉพาะหน้า มาตรา 356
4) คำเสนอสิ้นความผูกพัน มาตรา 357
2. คำสนอง
1) คำสนองมาถึงล่วงเวลา มาตรา 359
2) การบอกกล่าวคำสนองซึ่งส่งโดยทางการมาถึงล่วงเวลา มาตรา 358
3) กรณีที่ไม่นำมาตรา 169 วรรค 2 มาใช้บังคับ ตามมาตรา 360 ซึ่งเป็นเรื่องคำเสนอเท่านี้น ส่วนเรื่องคำสนองอยู่ในบังคับของมาตรา 169 วรรค 2
3. การเกิดสัญญา มาตรา 361
4. คำมั่น มาตรา 362, 363, 364
5. การตีความสัญญา
1) กรณีที่เป็นที่สงสัยข้อตกลงในข้อความใดแห่งสัญญา มาตรา 366
2) สัญญาได้ทำขึ้นแล้ว แต่มีบางข้อที่ยังไม่ได้ตกลง มาตรา 367
6. ผลของสัญญาต่างตอบแทน มาตรา 369, 370, 371, 372 สำคัญมากๆๆๆๆ ต้องเปรียบเทียบความแตกต่างให้ได้โดยเฉพาะมาตรา 370, 371, 372
7. มัดจำ มาตรา 377, 378

คำแนะนำในการศึกษาและตอบข้อสอบ วิชากฎหมายแพ่ง 1
1. ข้อสอบมี 3 ข้อ ข้อแรกเป็นเรื่องบุคคล ในเนื้อหากลุ่มที่ 1 มักจะพ่วงคำถามเกี่ยวกับโมฆะ หรือโมฆียะร่วมด้วยเสมอ ข้อที่สองเป็นเรื่องของการแสดงเจตนาต่างๆ ในหน่วยที่ 8 ข้อที่สามเป็นเรื่องสัญญา
2. ให้ตอบโดยยกตัวบทขึ้นก่อน ตามด้วยการปรับหลักกฎหมาย และสรุปธงคำตอบเสมอ ถ้าสรุปแต่ธงคำตอบอย่างเดียวถึงแม้ว่าคำตอบจะถูกต้องก็ได้คะแนนเพียง 1-2 คะแนน จาก 20 คะแนนเท่านั้น
3. การใช้ภาษากฎหมายต่างๆ ต้องแม่นยำ เช่น โมฆะ โมฆียะ สมบูรณ์ ไม่บริบูรณ์ กลฉ้อฉล การฉ้อฉล อย่าใช้สับไปสับมา เพราะคำเหล่านี้มีความหมายแตกต่างกัน
4. กฎหมายแพ่ง 1 เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญของสาขานิติศาสตร์ เพราะว่าเรื่องบุคคล นิติกรรม สัญญา จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆเป็นอันมาก โดยทั่วไปไม่ยาก ถ้าตั้งใจ ขอให้โชคดีครับ



ที่มา   http://nitistou.wordpress.com





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม